Page 16 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบึงกาฬ
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                9






                         2.2  ข้าว

                             ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดบึงกาฬในลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก

                       หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 - 9)

                             1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกข้าว
                               ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 176,751 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.76 ของ
                       พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอเซกา 53,356 ไร่ อำเภอเมืองบึงกาฬ 43,294 ไร่ และอำเภอ
                       โซ่พิสัย 23,251 ไร่

                               ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ ที่ 635,486 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       27.93 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอโซ่พิสัย 148,070 ไร่ อำเภอเซกา 107,251 ไร่
                       และอำเภอพรเจริญ 100,643 ไร่
                               ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 58,586 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.57

                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอเซกา 23,913 ไร่ อำเภอศรีวิไล 9,247 ไร่ และอำเภอ
                       บึงโขงหลง 7,678 ไร่
                               ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,404,421 ไร่

                             2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกข้าวในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน ได้ดังนี้
                               (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 92,695 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 52.44 ของพื้นที่ศักยภาพ

                       สูง พบมากอยู่ในอำเภอเซกา 32,239 ไร่ อำเภอเมืองบึงกาฬ 19,703 ไร่ และอำเภอโซ่พิสัย 11,863 ไร่
                               (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 308,593 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 48.56 ของพื้นที่
                       ศักยภาพปานกลาง พบมากอยู่ในอำเภอโซ่พิสัย 69,065 ไร่ อำเภอเซกา 53,903 ไร่ และอำเภอพรเจริญ

                       48,2031 ไร่
                               (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 38,610 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 65.90 ของพื้นที่
                       ศักยภาพเล็กน้อย พบมากอยู่ในอำเภอเซกา 17,089 ไร่ อำเภอศรีวิไล 6,559 ไร่ และอำเภอ
                       โซ่พิสัย 3,866 ไร่
                               (4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 105,226 ไร่


                             3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกข้าวแต่ไม่ใช้พื้นที่ปลูก พิจารณา
                       จากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกข้าว และพื้นที่ปลูกข้าวในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง)
                       พบว่าจังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสมปานกลาง
                       (S2) รวมทั้งสิ้น 410,949 ไร่ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอโซ่พิสัย 90,393 ไร่

                       อำเภอเซกา 74,465 ไร่ อำเภอเมืองบึงกาฬ 72,343 ไร่ อำเภอพรเจริญ 59,634 ไร่ ตามลำดับ มีรายละเอียด
                       ดังนี้
                               (1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 84,056 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 47.56 ของพื้นที่
                       ศักยภาพสูง พบมากในอำเภอเมืองบึงกาฬ 23,591 ไร่ อำเภอเซกา 21,117 ไร่ และอำเภอโซ่พิสัย

                       11,388 ไร่
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21