Page 20 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบึงกาฬ
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                13






                         2.3  ปาล์มน้ำมัน

                             ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดบึงกาฬในลำดับที่ 3 จากฐานข้อมูลในแผนที่

                       เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 7 และภาพที่ 10 - 11)

                             1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
                               ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 63,374 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.78 ของ
                       พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอบึงโขงหลง 30,800 ไร่ อำเภอบุ่งคล้า 29,391 ไร่ และอำเภอ
                       เซกา 3,143 ไร่

                               ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 858,786 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       31.71 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอเซกา 262,234 ไร่ อำเภอเมืองบึงกาฬ 172,475
                       ไร่ และอำเภอโซ่พิสัย 136,288 ไร่
                               ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 916,364 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                       40.26 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอเมืองบึงกาฬ 274,306 ไร่ อำเภอเซกา 162,915 ไร่
                       อำเภอโซ่พิสัย 139,165 ไร่
                               ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 438,428 ไร่

                             2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
                       ได้ดังนี้

                               (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 1,877 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.96 ของพื้นที่ศักยภาพสูง พบ
                       มากอยู่ในอำเภอบุ่งคล้า 953 ไร่ อำเภอบึงโขงหลง 729 ไร่ และอำเภอเซกา 195 ไร่
                               (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 16,515 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.92 ของพื้นที่

                       ศักยภาพปานกลาง พบมากอยู่ในอำเภอเมืองบึงกาฬ 5,342 ไร่ อำเภอเซกา 5,099 ไร่ และอำเภอ
                       พรเจริญ 1,428 ไร่
                               (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 5,187 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.57 ของพื้นที่ศักยภาพ
                       เล็กน้อย พบมากอยู่ในอำเภอเมืองบึงกาฬ 1,457 ไร่ อำเภอโซ่พิสัย 1,051 ไร่ และอำเภอเซกา 925 ไร่
                               (4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 4,494 ไร่


                             3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกปาล์มน้ำมันแต่ไม่ใช้พื้นที่ปลูก
                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน และพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันใน
                       ชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่าจังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง
                       (S1) และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 903,768 ไร่ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมาก

                       ที่สุด ได้แก่ อำเภอเซกา 260,083 ไร่ รองลงมา ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ 167,173 ไร่ อำเภอโซ่พิสัย
                       134,995 ไร่ และอำเภอศรีวิไล 103,968 ไร่ ตามลำดับ มีรายละเอียดดังนี้
                               (1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 61,497 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 97.04 ของพื้นที่
                       ศักยภาพสูง พบมากในอำเภอบึงโขงหลง 30,071 ไร่ อำเภอบุ่งคล้า 28,438 ไร่ และอำเภอเซกา 2,948 ไร่
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25