Page 7 - การจัดการวัสดุทางปาล์มที่เหมาะสมรอบทรงพุ่มต่อการเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันในชุดดินระแงะ Suitable management of pilesing leaves in canopy to increase organic matter and nutrition for oil palm plantation in Rangae series.
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                     6



                                                  หลักการและเหตุผล

                                  ประเทศไทยเปนประเทศเกษตรกรรม รายไดสวนใหญของประเทศมาจากการเกษตร
               แตผลผลิตตอไรยังอยูในระดับต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ที่ใชเพาะปลูกขาดความอุดมสมบูรณ พื้นที่บางแหง
               อยูในสภาพเสื่อมโทรมประเทศไทยอยูในเขตรอนและมรสุม อากาศรอนและฝนตกชุกเปนสภาพที่
               เหมาะสมตอการทำงานของเชื้อจุลินทรียในดินในการยอยสลายอินทรียวัตถุ ปริมาณอินทรียวัตถุในดินจึง

               ลดลงอยางรวดเร็ว นอกจากนี้การทำเกษตรกรรมที่ขาดการปรับปรุงบำรุงดินและการอนุรักษดินและน้ำ
               เปนสาเหตุที่สำคัญอีกปจจัยหนึ่งที่ทำใหหนาดินที่อุดมสมบูรณดวยแรธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุถูกน้ำ
               ชะลางลงสูแมน้ำ ลำคลอง รวมทั้งเกษตรกรใชพื้นที่เพาะปลูกมาเปนเวลานานโดยไมมีการเพิ่มอินทรียวัตถุ
               ลงในดิน การไถพรวนและการเตรียมดินแตละครั้งก็เปนการเรงใหอินทรียวัตถุสลายตัวเร็วขึ้น ปริมาณ

               อินทรียวัตถุในดินของภาคตางๆมีความแตกตางกันออกไป สำหรับพื้นที่ภาคใต ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
               ต่ำ มีสาเหตุมาจากสภาพพื้นที่ไมสม่ำเสมอ มีความลาดเอียง มีปริมาณฝนมากทำใหเกิดการชะลางและกัด
               เซาะโดยเฉพาะบริเวณผิวหนาดิน ซึ่งมีผลทั้งทางตรงและทางออมตอความอุดมสมบูรณของดินในระยะยาว

               (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
                             ปาลมน้ำมันเปนพืชที่นิยมปลูกในพื้นที่ภาคใต ปาลมน้ำมันเปนพืชยืนตนที่ใหผลผลิต
               น้ำมันสูง ปาลมน้ำมันมีการเจริญเติบโตทางลำตนอยางรวดเร็ว มีอายุการใหผลผลิตที่ยาวนาน และ
               ตอเนื่องการใหปุยปาลมน้ำมันจึงตองใหอยางเพียงพอ ทั้งสำหรับการเจริญเติบโตและผลผลิต อยางไรก็
               ตามในการทำสวนปาลมน้ำมันเกษตรกรจะนำทางใบที่ถูกตัดแตงขณะเก็บเกี่ยวผลผลิตมาเรียงกระจายให

               รอบโคนตน หรือเรียงกระจายแบบแถวเวนแถว เพื่อใหเกิดการยอยสลาย สวนปลายทางปาลมนำมาคลุม
               รอบโคนตนปาลมเพื่อปองกันวัชพืชและควบคุมความชื้นหนาดิน ซึ่งเปนการใชวัสดุเหลือใชทางการเกษตร
               ในการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ทางใบเหลานี้คิดเทียบเปนปริมาณปุยเคมีประมาณ 40 เปอรเซ็นต

               ของปริมาณปุยที่ตองใชตลอดทั้งปซึ่งสามารถลดการใชปุยเคมีในสวนปาลมน้ำมันไดสวนหนึ่งนอกจากนี้ยัง
               เปนตัวกระจายอินทรียวัตถุไดเปนอยางดี ประมาณ 1.6 ตันทางใบสดตอไรตอปโดยไมตองเพิ่มตนทุนจาก
               การใสปุยอินทรียหรือปุยชีวภาพอื่นๆอีก(กรมวิชาการเกษตร, 2548)แตกรมพัฒนาที่ดินยังไมมีขอมูล
               สนับสนุนทางวิชาการในเรี่องดังกลาว  ดังนั้นการศึกษาปริมาณอินทรียวัตถุจากการกองทางปาลมรอบทรง

               พุมปาลมน้ำมัน จึงเปนอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถชวยใหเกษตรกรใชวัสดุเหลือใชทางการเกษตรในการ
               เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในสวนปาลมน้ำมันซึ่งจะเปนขอมูลที่เปนประโยชนกับเกษตรกรตอไป


                                              วัตถุประสงคของโครงการวิจัย

                               ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพดินจากการกองทางปาลม
               บริเวณทรงพุม


                                               ขอบเขตของโครงการวิจัย


                             ศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินจากการกองทางปาลม
               เปรียบเทียบกับการไมกองทางปาลมเพื่อเปนขอมูลเบื้องตนในการใชวัสดุเหลือใชทางการเกษตรในการเพิ่ม

               ปริมาณอินทรียวัตถุในสวนปาลมน้ำมัน
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12