Page 18 - การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานในระบบพืชหลังนากลุ่มชุดดินที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ Soil management for increasing sweet corn yield in post-rice crop system on soil group no.4 in Nakhonsawan province.
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                          18

                                 ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันแสดงถึงความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น
                                 95% โดยวิธี Duncan’s Multiple Range Test (DMRT)


                   5. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

                          ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3 ปี ของปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์ซุปเปอร์สวีทไอ-บริกซ์3 ซึ่งเป็นค่าแรงงานได้แก่ ค่า
                   เตรียมดิน (ไถดะ ไถแปร ยกร่อง) ค่าดูแลรักษา ค่าปลูกข้าวโพดหวาน ค่าเก็บเกี่ยว และ ค่าวัสดุได้แก่ ค่าเมล็ดพันธุ์
                   ข้าวโพดหวาน ค่าสารเคมี ค่าปุ๋ยเคมี และค่าปุ๋ยหมักชีวภาพ พด.12  พบว่า ตำรับการทดลองที่ 1 วิธีการควบคุมที่ไม่
                   ใส่ปุ๋ยเลย มีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือ  3,250 บาทต่อไร่ ส่วนตำรับการทดลองที่ 5 วิธีการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12
                   อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีต้นทุนการผลิตสูงที่สุด คือ 8,050 บาทต่อไร่
                   แสดงดังตารางที่ 5
                          มูลค่าผลผลิตของการปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์ซุปเปอร์สวีทไอ-บริกซ์3 พบว่า ตำรับการทดลองที่ 5 มีมูลค่า

                   ผลผลิตของการปลูกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 3 ปี สูงสุด คือ 20,472 บาทต่อไร่  เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตต่อไร่เท่ากับ
                   2,559  กิโลกรัมต่อไร่  เมื่อจำหน่ายข้าวโพดหวานในราคากิโลกรัมละ 8 บาท รองลงมาเป็นตำรับการทดลองที่ 6 4 3
                   2 และ ท้ายสุดตำรับการทดลองที่ 1 มูลค่าผลผลิตของการปลูกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 19,568  19,560
                   18,896  18,600 และ  4,088 บาทต่อไร่ ตามลำดับ แสดงดังตารางที่ 5
                          รายได้สุทธิของการปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์ซุปเปอร์สวีทไอ-บริกซ์3 พบว่า ตำรับการทดลองที่ 4  มีรายได้
                   สุทธิของการปลูกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 3 ปี สูงสุด คือ 14,010 บาทต่อไร่ รองลงมาเป็นตำรับการทดลองที่ 3 5 6 2
                   และตำรับการทดลองที่ 1 มีรายได้สุทธิของการปลูกอ้อยเท่ากับ คือ 12,926  12,422 11,818 11,442  และ 838

                   บาทต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งรายได้สุทธิการผลิตจะขึ้นอยู่กับมูลค่าผลผลิต เมื่อนำมาคิดเป็นรายได้สุทธิโดยเปรียบเทียบ
                   กับต้นทุนการผลิต จึงมีผลทำให้ได้ค่ารายได้สุทธิและมูลค่าผลผลิตจากการทดลองสวนทางกันทิศทางในตำรับการ
                   ทดลองที่ 5 และ 6 เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปุ๋ยหมักชีวภาพ 12 แสดงดังตารางที่ 9 และตารางผนวกที่ 10

                   ตารางที่ 5  แสดงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (ค่าเฉลี่ย 3 ปี)

                     ตำรับ   ราคาผลผลิต       ต้นทุน         ผลผลิต       มูลค่าผลผลิต     ผลตอบแทนเหนือ
                      ที่   (บาท/กิโลกรัม)   (บาท/ไร่)     (กิโลกรัม/ไร่)    (บาท)        ต้นทุนผันแปร(บาท)


                      1           8            3,250           511            4,088              838

                      2           8            4,310           1,969          15,752            11,442


                      3           8            5,970           2,362          18,896            12,926

                      4           8            5,250           2,445          19,560            14,310


                      5           8            8,050           2,559          20,472            12,422


                      6           8            7,750           2,446          19,568            11,818




                                                       สรุปและข้อเสนอแนะ
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23