Page 7 - ผลการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำในดินปลูกมันสำปะหลัง Effect of Biochar for Soil Amendment on Moisture Content and Water Infiltration for Planting Cassava
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            1




                                                             บทนำ

                                                        หลักการและเหตุผล


                       มันสำปะหลังพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับต้นๆของประเทศไทยเป็นพืชที่ปลูกง่ายสามารถปลูกได้ทุกเนื้อดินและ
                    ทนต่อความแห้งแล้ง จากรายงานของมูลนิธิพัฒนามันสำปะหลัง ปี 2550 พบว่าผลผลิตมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นมาจาก
                    การขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น แต่เกษตรกรไม่นิยมปรับปรุงบำรุงดินทั้งทางเคมีและกายภาพจึงประสบปัญหา
                    ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าขณะที่สภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทำให้ฝนตกทิ้งช่วง และไม่สม่ำเสมอ
                    ประกอบกับดินมีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุอาหารต่ำมาก และไม่สามารถกักเก็บความชื้นได้นาน ส่งผลให้ต้น
                    มันสำปะหลังขาดช่วงในการเจริญเติบโตและอาจส่งผลให้ใบร่วงได้ในที่สุด ถ่านชีวภาพจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการ

                    ปรับปรุงดินปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากถ่านชีวภาพมีลักษณะเป็นเนื้อละเอียด และเต็มไปด้วยรูพรุน เป็นผลิตภัณฑ์
                    ที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ของชีวมวลมีประโยชน์ในการปรับปรุงดิน เนื่องจากมีความเป็นรูพรุนสูงช่วยให้
                    จุลินทรีย์ที่อยู่ในดินดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายและแปรสภาพธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์
                    ต่อพืชได้ดีขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ่านชีวภาพมีสมบัติในการดูดยึดธาตุอาหารต่างๆ และความชื้นในดิน ซึ่งความชื้น
                    ในดินจะส่งผลถึงผลผลิตของมันสำปะหลัง เนื่องจากหากดินมีความชื้นน้อย หรือแห้งแล้ง จะทำให้มันสำปะหลังตาย
                    หรือให้ผลผลิตต่ำ  ดังนั้นการศึกษาผลของการนำถ่านชีวภาพมาใช้ปรับปรุงดินในการปลูกมันสำปะหลังจึงมี
                    ความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อให้เกิดการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้เพื่อการปรับปรุงบำรุงดินได้อย่างมี
                    ประสิทธิภาพและเหมาะสมกับที่ดินของเกษตรกรต่อไป


                                                           วัตถุประสงค์
                    เพื่อศึกษาผลของถ่านชีวภาพที่มีต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมของน้ำในดินปลูกมันสำปะหลัง


                                                       ขอบเขตโครงการวิจัย

                       ศึกษาผลของถ่านชีวภาพไม้ประดู่ที่มีต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมของน้ำในดินปลูกมันสำปะหลังในภาค
                    ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเปรียบเทียบกลุ่มเนื้อดินได้แก่ กลุ่มเนื้อดินหยาบ ปานกลาง และละเอียด


                                           ทฤษฎี สมมุติฐาน และกรอบแนวคิดโครงการวิจัย
                       การนำถ่านชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดินปลูกมันสำปะหลัง สามารถช่วยดูดซับความชื้นให้อยู่ในดิน

                    ทุกลักษณะเนื้อดินได้ยาวนานขึ้น ส่งผลให้เกิดกิจกรรมการย่อยสลายและแปรสภาพธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่เป็น
                    ประโยชน์ต่อพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากในระหว่างการเพาะปลูกดินสามารถกักเก็บความชื้นได้ดี ก็จะสามารถให้
                    ผลผลิตที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นด้วย
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12