Page 2 - ผลการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำในดินปลูกมันสำปะหลัง Effect of Biochar for Soil Amendment on Moisture Content and Water Infiltration for Planting Cassava
P. 2

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                             i



                    ทะเบียนวิจัยเลขที่ 61-63-03-08-02011-101-104-01-11
                    ชื่อโครงการวิจัย  ผลการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำในดินปลูกมัน
                                   สำปะหลัง
                                   Effect of Biochar for Soil Amendment on Moisture Content and Water Infiltration

                                   for Planting Cassava
                    กลุ่มชุดดินที่   -   ชุดดิน  วังสะพุง โคราช พล
                    สถานที่ดำเนินการ ห้องปฏิบัติการสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน
                    ผู้ร่วมดำเนินการ  นางสาวประไพพิศ ศรีมาวงษ์    Prapaipit Srimawong
                                   นางสาวนภัสสร โน๊ตศิริ       Napatsorn Notesiri
                                   นางสาวปราณี จอมอุ่น         Pranee  Chomun

                                   นางสาวชนิดา เกิดชนะ         Chanida  Kerdchana
                                   นางสาวชนิดา จรัญวรพรรณ      Chanida  Charanworapan

                                   นายรัตนชาติ ช่วยบุดดา       Rattanachart  Chuybudda


                                                        บทคัดย่อภาษาไทย

                           ถ่านชีวภาพช่วยปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน เนื่องจากสมบัติความเป็นรูพรุนสูงเมื่อใส่ลงในดินจะ
                    ช่วยการระบายอากาศ การดูดซับความชื้น การอุ้มน้ำ ดูดยึดธาตุอาหาร การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล

                    ของถ่านชีวภาพไม้ประดู่ที่มีต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมของน้ำในดินปลูกมันสำปะหลังลักษณะเนื้อ
                    ดิน 3 ประเภท ในจังหวัดนครราชสีมา โดยการใส่ถ่านชีวภาพ 3 รูปแบบ คือ ไม่ใส่ถ่านชีวภาพ (T1) ใส่ถ่านชีวภาพ
                    ทุกปี ปีละ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ (T2) และใส่ถ่านชีวภาพเพียงครั้งเดียว 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ (T3) ทำการเก็บข้อมูล
                    อัตราการแทรกซึมน้ำและปริมาณความชื้น ที่ระดับความลึกดินจากผิวดิน 6 ระดับ ได้แก่ 10, 20, 30, 40, 60 และ
                    100 เซนติเมตร จากผิวดิน ตามระยะการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง 3 ช่วง ได้แก่ระยะ 1 เดือน ระยะ 3 เดือน
                    และระยะเก็บเกี่ยว ผลการศึกษาพบว่าถ่านชีวภาพไม้ประดู่มีรูพรุนจำนวนมาก มีขนาดเล็กใหญ่ไม่สม่ำเสมอ ขนาดรู
                    พรุนอยู่ในช่วง 0.4-15 ไมโครเมตร มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะ 50.94 ถึง 71.67 ตารางเมตรต่อกรัม การกระจายขนาดรู
                    พรุนในช่วงรูพรุนขนาดกลางอยู่ในช่วง 20-47 อังสตรอม ความชื้นและอัตราการแทรกซึมน้ำของดินที่ใส่ถ่านชีวภาพ
                    เปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่ใส่ถ่านชีวภาพพบว่า ผลการใส่ถ่านชีวภาพอัตราปีละ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และอัตรา

                    2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ส่งผลให้ความชื้นดินกลุ่มเนื้อหยาบสูงขึ้นที่ระดับความลึก 60-100 เซนติเมตร และพบว่าหลัง
                    การใส่ถ่านชีวภาพ 3 เดือนดินมีอัตราการแทรกซึมน้ำสูงกว่าการไม่ใส่ถ่านชีวภาพ กลุ่มดินเนื้อปานกลางดินมี
                    ความชื้นสูงขึ้นที่ระดับความลึกดิน 0-20 เซนติเมตร เมื่อใส่ถ่านชีวภาพอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ และมีอัตราการ
                    แทรกซึมน้ำของดินเพิ่มขึ้นช่วง 3 เดือนจนถึงระยะเก็บเกี่ยว เช่นเดียวกับอัตราการแทรกซึมน้ำของกลุ่มดินเนื้อ
                    ละเอียด แต่พบว่าความชื้นดินเนื้อละเอียดสูงขึ้นที่ระดับความลึกดิน 60-100 เซนติเมตร หลังใส่ถ่านชีวภาพอัตรา
                    1,000 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นระยะเวลา 2 ปี เมื่อพิจารณาผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตมันสำปะหลัง พบว่าในทั้ง 3
                    กลุ่มเนื้อดิน การใส่ถ่านชีวภาพไม่ทำให้ได้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่าช่วงปี

                    แรกการใส่ถ่านชีวภาพอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลทำให้น้ำหนักลำต้นในดินเนื้อหยาบและดินเนื้อละเอียด และ
                    น้ำหนักส่วนเหนือดินในดินเนื้อหยาบสูงกว่าการไม่ใส่ถ่านชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

                    คำสำคัญ: ถ่านชีวภาพ ปริมาณความชื้น การแทรกซึมน้ำ มันสำปะหลัง
   1   2   3   4   5   6   7