Page 14 - การจัดทำค่ามาตรฐานธาตุอาหารพืชในชาน้ำมันเพื่อใช้เป็นค่าวินิจฉัยสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ย Preparation of Standard Plant Nutrients in Camellia oleifera Able. for Use as Diagnostic for Fertilizer Recommendations.
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4
ระดับ HDL (คลอเรสเตอรอลชนิดดี) ในร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน โรคอัมพาต โรคความ
ดัน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจได้ จึงดีต่อสุขภาพของผู้ที่มีภาวะน ้าหนักเกิน สตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ
นอกจากจะใช้ในการบริโภคและประกอบอาหารแล้ว น ้ามันชายังสามารถน้าไปผลิตเป็นเครื่องส้าอางบ้ารุงเส้น
ผมและผิวพรรณต่างๆ เช่น ครีม และโลชั่นบ้ารุงผิว ครีมกันแดด สบู่ ยาสระผม หรือผสมกับน ้ามันหอมระเหย
เป็นต้น (มูลนิธิชัยพัฒนา, 2562)
ในปัจจุบัน มูลนิธิชัยพัฒนาได้สนองพระราชด้าริ ได้จัดท้า โครงการศึกษา และพัฒนาการปลูกชา
น ้ามันเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยประสานกับสถาบันพฤกษศาสตร์มณฑลยูนนานสาธารณรัฐประชาชนจีน น้าเมล็ด
พันธุ์และต้นกล้าชาน ้ามันมาวิจัยและทดลองปลูกในพื นที่ทดลองวิจัยตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน
เนื่องมาจากพระราชด้าริฯ และพื นที่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ทางสาธารณรัฐ
ประชาชนจีน ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเมล็ดพันธุ์จ้านวน 2,500 กิโลกรัม และต้นกล้าชาน ้ามันอีก 40,000 ต้น
ปัจจุบันได้ขยายการปลูกในพื นที่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และ นครราชสีมา ประมาณ 954,378 ต้น รวม
พื นที่กว่า 3,683 ไร่ อาทิโครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชด้าริ จังหวัดเชียงราย พื นที่ศูนย์วิจัย
เกษตรหลวงเชียงใหม่ (โป่งน้อย) พื นที่แปลงชาน ้ามันบ้านโปง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ พื นที่
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ อ้าเภอสีคิ ว จังหวัดนครราชสีมา พื นที่สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้า
สิริกิติ์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ พื นที่บ้านปางมะหัน บ้านปูนะ และพื นที่ใกล้เคียง อ้าเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัด
เชียงราย (มูลนิธิชัยพัฒนา, 2562) อย่างไรก็ตาม การปลูกชาน ้ามันให้ได้ทั งปริมาณผลผลิต และมีคุณภาพ
ในกระบวนการปลูกจ้าเป็นต้องมีการจัดการดูแลตามหลักวิชาการ โดยเฉพาะการจัดการธาตุอาหาร เป็นปัจจัย
หลักที่ควบคุมปริมาณ และคุณภาพของผลผลิต
2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธาตุอาหารพืช (theory of plant nutrient management)
ธาตุอาหารที่จ้าเป็นส้าหรับพืชมี 17 ธาตุ แบ่งเป็นกลุ่มที่พืชได้รับจากน ้าและอากาศ 3 ธาตุ คือ
คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ส่วนใหญ่จึงเป็นธาตุที่มีเพียงพอ ส่วนธาตุอีกกลุ่มพืชได้รับจากดิน และมัก
เป็นธาตุที่จ้ากัดผลผลิตพืช แบ่งเป็นมหธาตุ จัดเป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณสูง มี 6 ธาตุ คือ ไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และก้ามะถัน และกลุ่มจุลธาตุ เป็นธาตุที่พืชต้องการใน
ปริมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้ มี 8 ธาตุ คือ เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิบดีนัม คลอรีน และ
นิเกิล (ยงยุทธ, 2551) การจัดการธาตุอาหารที่พืชได้รับจากดินมีความซับซ้อน เนื่องจากธาตุอาหารมีหลาย
ธาตุ และมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน เช่น สภาพแวดล้อมในพื นที่ วัตถุต้น
ก้าเนิดดิน รวมถึงการจัดการธาตุอาหารของเกษตรกร ซึ่งหากมีการจัดการธาตุอาหารที่ไม่ถูกต้องยิ่งเป็นปัจจัย
เร่ง ลดความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารที่พืชจะได้รับ จนส่งผลยับยั งการเจริญเติบโต และท้าให้ผลผลิตพืช
ลดลงในที่สุด ดังนั นเพื่อให้การจัดการธาตุอาหารในดินมีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของพืช
จึงได้มีผู้เสนอทฤษฎีส้าหรับน้ามาใช้เป็นแนวทางในการจัดการธาตุอาหารพืช ซึ่งปัจจุบันทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและ
ได้รับการยอมรับ มีการน้าไปใช้อย่างกว้างขวาง พบว่ามีอยู่ 3 ทฤษฎี 1) ทฤษฎีถังไม้โอ๊ค 2) ทฤษฎีการ
ตอบสนองต่อธาตุอาหาร และ 3) ทฤษฎีการจัดการธาตุอาหารแบบสมดุลมวล