Page 16 - ต้นแบบอนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเชียงใหม่ Soil and Water Conservation Model in Chiang Mai Province.
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            8

                   2) วิเคราะห์และกลั่นกรองผลกระทบจากการชะล้างพังทลายของดินโดยอาศัยหลักในการจำแนกและ

                   กลั่นกรองผลกระทบตากหลักการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านกายภาพ ด้านชีวภาพ
                   ด้านคุณค่าการใช้ประโยชน์ และด้านคุณภาพชีวิต 3) ประเมินมูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ที่กลั่นกรอง

                   ไว้ด้วยวิธีการตลาด


                          บรรจงศักดิ์ ฟักสมบูรณ์ และคณะ (2562) ศึกษาการตอบสนองของรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อ

                   การชะล้างพังทลายของดินและอินทรียวัตถุในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร โดยประยุกต์ใช้ระบบ
                   สารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับแบบจำลองสมการสูญเสียดินสากล (USLE) มีปัจจัยสำคัญได้แก่ ปัจจัยความ

                   คงทนต่อการถูกชะล้างพังทลายของดิน ปัจจัยความยาวของความลาดเท ปัจจัยความลาดชัน ปัจจัยการ

                   จัดการพืช และปัจจัยการปฏิบัติควบคุมการพังทลายของดิน จากผลการศึกษาพบว่าเกิดการชะล้างพังทลาย
                   ของดินในรูปแบบการใช้โยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีค่าสูงสุด รองลงมาได้แก่ รูปแบบการ

                   ใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพืชไร่ (มันสำปะหลัง), พื้นที่เบ็ดเตล็ด (ยางพารา) และพื้นที่ไม้ผล (หม่อนและเงาะ)


                          อานุช คีรีรัฐนิคม และ สุธาสินี โพธิสุนทร (2550) ศึกษาการสูญเสียดินและธาตุอาหารจากการ

                   พังทลายของดินในพื้นที่ปลูกยางพารา อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ศึกษาใน 3 พื้นที่ที่มีความลาดชัน
                   แตกต่างกันคือ พื้นที่ที่มีความลาดชัน 37.23 46.89 และ 52.69% ผลการศึกษาโดยวิธีการใช้หมุดปักเป็น

                   ระยะเวลา 1 ปี พบว่าสวนยางพาราที่มีความลาดชัน 52.69% มีการสูญเสียดินสูงถึง 137.60 ตันต่อเฮกแตร์

                   ต่อปี ถือว่าเป็นการสูญเสียดินระดับสูงตามเกณฑ์การแบ่งอัตราการสูญเสียดินของกรมพัฒนาที่ดิน อันดับ
                   ต่อมาคือ สวนยางพาราที่มีความลาดชัน 46.89% และ 37.23% มีปริมาณการสูญเสียดิน 80.20 และ 60.20

                   ตันต่อเฮกแตร์ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเป็นการสูญเสียดินระดับปานกลาง


                          เสาวลักษณ์ สระทองเทียน (2559) ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสมการการสูญเสียดิน

                   สากลสำหรับประเมินการชะล้างพังทลายของดิน บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำแควน้อย จังหวัดพิษณุโลก เพื่อ
                   เปรียบเทียบระดับความรุนแรงที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน จากการใช้ประโยชน์ที่ดินในปีพ.ศ. 2552

                   และ ปีพ.ศ. 2556 โดยศึกษาจากปัจจัยปริมาณน้ำฝน ปัจจัยความคงทนต่อการชะล้างพังทลายของดิน ปัจจัย
                   การจัดการพืช และปัจจัยความลาดชันและความยาวของความลาดชัน ผลวิจัยพบว่าศักยภาพการชะล้าง

                   พังทลายของดินโดยการประเมินการชะล้างพังทลายของดินในปีพ.ศ. 2552 ช่วงระดับความรุนแรงมากมีพื้นที่

                   426.50 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของพื้นที่ ช่วงระดับรุนแรงมีพื้นที่ 3,944.41 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.16 ของ
                   พื้นที่ ช่วงระดับความรุนแรงปานกลางมีพื้นที่ 27,184.43 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.08 ของพื้นที่ ส่วนในปีพ.ศ.

                   2556 ช่วงระดับรุนแรงมากมีพื้นที่ 1,172.66 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของพื้นที่ ช่วงระดับความรุนแรงพื้นที่
                   6,183.13 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของพื้นที่ ช่วงระดับความรุนแรงปานกลางมีพื้นที่ 36,992.15 ไร่ คิดเป็น

                   ร้อยละ 1.47 ของพื้นที่
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21