Page 21 - ต้นแบบอนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเชียงใหม่ Soil and Water Conservation Model in Chiang Mai Province.
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           13

                   เบญจพรรณ พื้นที่กลางน้ำมีความลาดชัน 20-25 เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ปลูกมะม่วง และปลายน้ำมีความลาด

                   ชัน 9-10 เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ปลูกพืชผัก


                          3.1 ศึกษาปริมาณตะกอนดินในถังดักตะกอน

                          วิธีการประเมินการสูญเสียดินจากปริมาณตะกอนดินในถังดักตะกอน โดยสร้างแปลงศึกษาการ
                   ชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอยและลุ่มน้ำห้วยลึก พื้นที่ละ 3 แปลง ซึ่งมีความลาดชันและ

                   การใช้ประโยชน์ที่ดินแตกต่างกัน รวมทั้งสิ้น 6 แปลง โดยแปลงศึกษาการชะล้างพังทลายของดินมี
                   ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 22 เมตร และขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร ท้ายแปลงของทุกแปลงขุดบ่อ

                   ดักตะกอนดินขนาดกว้าง 0.75 เมตร ยาว 1 เมตร และลึก 1 เมตร ดังภาพที่ 2 โดยเก็บตัวอย่างดิน

                   เดือนละครั้ง แล้วนำปริมาณตะกอนดินในถังดักตะกอนดินมาอบให้แห้งและชั่งน้ำหนักหาปริมาณการ
                   สูญเสียดิน

































                               ภาพที่ 3 การวางบ่อดักตะกอนดินในแปลงศึกษาการชะล้างพังทลายของดิน



                          3.2 วิธีปักหมุดเพื่อวัดการชะล้างพังทลายของดิน (Pin Technique)

                          วิธีการประเมินการสูญเสียดินด้วยวิธีปักหมุดเพื่อวัดการชะล้างพังทลายของดิน เพื่อศึกษาการ

                   เคลื่อนย้ายของดิน ดำเนินการศึกษาในแปลงชะล้างพังทลายของดินขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 22 เมตร
                   จำนวน 6 แปลง แบ่งเป็นลุ่มน้ำละ 3 แปลง ปักหมุดเหล็กลึกลงไปในดิน 10 เซนติเมตร เหลือส่วนเหนือ

                   ดิน 20 เซนติเมตร ในแปลงศึกษาการชะล้างพังทลายของดินจำนวน 10 แถวๆ ละ 3 จุด รวม 30 หมุด
                   ต่อแปลง ดังภาพที่ 15 โดยวัดความสูงของดินที่เพิ่มขึ้นหรือหายไปจากหมุดที่ปักไว้ทุกเดือน แล้วจึง

                   นำมาประเมินการสูญเสียดินต่อพื้นที่
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26