Page 13 - ต้นแบบอนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเชียงใหม่ Soil and Water Conservation Model in Chiang Mai Province.
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            5

                   2. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic information systems)

                          ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ ระบบ GIS เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่
                   (Spatial data) โดยข้อมูลลักษณะต่าง ๆ ในพื้นที่ที่ทำการศึกษาจะถูกนำมาจัดให้อยู่ในรูปแบบที่มี

                   ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและกันซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดและรายละเอียดของข้อมูลนั้น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี

                   ที่สุดตามต้องการ
                          “GIS เป็นระบบของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์และวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อการจัดเก็บ การ

                   จัดการ การจัดทำ การวิเคราะห์การทำแบบจำลอง และการแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาการวางแผนที่

                   ซับซ้อนและปัญหาในการจัดการ” เป็นคำจำกัดความที่ได้ให้ไว้โดย Federal interagency coordinating
                   committee (1988)

                          “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นระบบโปรแกรมที่สามารถนำไปใช้ในการสร้างและวิเคราะห์ข้อมูล
                   รูปทรงสัณฐานของวัตถุทุกอย่างบนพื้นผิวโลก (Spatial) เกี่ยวกับระบบแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศและแผนผัง

                   ต่าง ๆ ของลักษณะภูมิประเทศทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้นสิ่งเหล่านี้สามารถแปลความ

                   ออกมาเป็นรหัสอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเรียกออกมาใช้งาน แก้ไขและวิเคราะห์ข้อมูลได้” (พรทิพย์, 2531) แต่จาก
                   การสำรวจอัตราส่วนในการนำไปใช้ประโยชน์ถือว่า ประสบผลสำเร็จน้อยมาก (Marble และ Penquet,

                   1983) ทั้งนี้เนื่องจาก มีปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์เป็นส่วนใหญ่และการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องเพราะข้อมูลที่
                   บันทึกไว้อาจผิดพลาดได้ซึ่งเป็นเรื่องของคณิตศาสตร์และซอฟท์แวร์ (ครรชิต, 2529)



                          และอีกความหมายหนึ่ง คือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หมายถึงกระบวนการของการใช้
                   คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Hardware),ซอฟท์แวร์ (Software),ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Geographic data) และ

                   การออกแบบ (Personnel design) ในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดเก็บข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล

                   การคำนวณและการวิเคราะห์ข้อมูล ให้แสดงผลในรูปของข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้ในทางภูมิศาสตร์หรือ
                   หมายถึง การใช้สมรรถนะของคอมพิวเตอร์ ในการจัดเก็บและการใช้ข้อมูลเพื่ออธิบายสภาพต่าง ๆ บน

                   พื้นผิวโลก โดยอาศัยลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ นั้นเอง


                   3. การสำรวจข้อมูลจากระยะไกล

                          การสำรวจข้อมูลจากระยะไกล หมายถึง วิทยาศาสตร์และศิลปะของการได้มาซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับวัตถุ
                   (Object) พื้นที่หรือปรากฏการณ์ (Phenomena) ต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกจากเครื่องมือบันทึกข้อมูลโดย

                   ปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุ

                          เป้าหมายนั้น ๆ ทั้งนี้อาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูลใน 3
                   ลักษณะ คือ ช่วงคลื่น (Spectral) รูปทรงสัณฐานของวัตถุบนพื้นโลก (Spatial) และการเปลี่ยนแปลงตาม

                   ช่วงเวลา (Temporal)
                          ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจระยะไกล ในที่นี้จะหมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการถ่ายภาพทางเครื่องบินใน

                   ระดับต่ำที่เรียกว่า ภาพถ่ายทางอากาศ (Aerial photo) และข้อมูลที่ได้จากการบันทึกภาพ จากดาวเทียมใน
                   ระดับสูงกว่า เรียกว่า ภาพถ่ายจากดาวเทียม (Satellite image) องค์ประกอบที่สำคัญของการสำรวจข้อมูล

                   ระยะไกล คือ คลื่นแสง ซึ่งเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ว่าเป็นพลังงานที่ได้จาก
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18