Page 20 - ต้นแบบอนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเชียงใหม่ Soil and Water Conservation Model in Chiang Mai Province.
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           12

                   3. วิธีการศึกษาการชะล้างพังทลายของดิน


                          ดำเนินการวางแผนและสำรวจเก็บข้อมูลการชะล้างพังทลายของดินทั้งสองลุ่มน้ำ เพื่อประเมิน

                   การสูญเสียดิน โดยสร้างแปลงศึกษาการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลุ่มน้ำละ 3 แปลง ที่มีความลาด

                   ชันและการใช้ประโยชน์ที่ดินแตกต่างกัน รวมทั้งสิ้น 6 แปลง ดังภาพที่ 12 โดยแปลงศึกษาการชะล้าง
                   พังทลายของดินมีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 22 เมตร มีระดับความลาดชันแตกต่างกัน 3 ระดับ ดังนี้


                          - ระดับความลาดชัน 9–10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตร การตั้ง

                   ถิ่นฐาน ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์
                          - ระดับความลาดชัน 20–25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชัน และเสี่ยง

                   ต่อการชะล้างพังทลายของดิน เนื่องจากการใช้ที่ดินผิดประเภท

                          - ระดับความลาดชัน 30–35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง เสี่ยงต่อ
                   การชะล้างพังทลายของดินได้ง่าย และได้รับการป้องกันไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร








































                          ภาพที่ 2 ตัวอย่างแปลงสำรวจเก็บข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน (Wishmeier plot)




                          จากการสำรวจและวางแปลงศึกษาการชะล้างพังทลายของดินพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอยมีการใช้ประโยชน์
                   ที่ดินดังนี้ พื้นที่ต้นน้ำเป็นป่าเบญจพรรณ พื้นที่กลางน้ำเป็นแปลงข้าวไร่ และพื้นที่ปลายน้ำเป็นแปลงปลูก

                   พืชผัก ตามพื้นที่ที่มีความลาดชัน 30-35 20-25 และ 9-10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยลึกมี

                   การใช้ประโยชน์ที่ดินตามความลาดชันที่แตกต่างกัน พื้นที่ต้นน้ำความลาดชัน 30-35 เปอร์เซ็นต์เป็นป่า
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25