Page 14 - ต้นแบบอนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเชียงใหม่ Soil and Water Conservation Model in Chiang Mai Province.
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            6

                   ดวงอาทิตย์ หรือเป็นพลังงานจากตัวเอง ซึ่งระบบการสำรวจข้อมูลระยะไกลโดยอาศัยพลังงานแสงธรรมชาติ

                   เรียกว่า Passive remote sensing ส่วนระบบบันทึกที่มีแหล่งพลังงานที่สร้างขึ้นและส่งไปยังวัตถุเป้าหมาย
                   เรียกว่า Active remote sensing เช่น ระบบเรดาร์ เป็นต้น

                          หลักในการสำรวจข้อมูลจากระยะไกล มีวิธีการและขั้นตอนประกอบด้วยกระบวนการ 2

                   กระบวนการ ดังต่อไปนี้คือ
                          3.1 การได้รับข้อมูล (Data acquisition)

                          การได้รับข้อมูลในกระบวนการสำรวจข้อมูลจากระยะไกลเป็นกระบวนการต่าง ๆ ที่ให้ได้มาซึ่งข้อมูล

                   โดยเริ่มตั้งแต่ ดาวเทียมหรือยานสำรวจ (Platform) ที่ถูกส่งออกสู่วงโคจรในตำแหน่งที่จะทำการบันทึกข้อมูล
                   หรือสัญญาณของวัตถุหรือพื้นผิวโลกจนถึงขั้นการส่งข้อมูลหรือสัญญาณการสะท้อนพลังงานมาสู่สถานีรับ

                   ภาคพื้นดิน (Receiving station) และผลิตออกมาเป็นข้อมูลการสำรวจจากระยะไกลในรูปแบบของข้อมูลเชิง
                   อนุมาน (Analog data) และข้อมูลเชิงตัวเลข (Digital data)

                          3.2 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis)

                          การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจจากระยะไกลหรือข้อมูลจากดาวเทียมมีวิธีการวิเคราะห์อยู่ 2 วิธี คือ
                                 3.2.1 การวิเคราะห์ด้วยสายตา (Visual analysis) ที่ให้ผลข้อมูลออกมาในเชิงคุณภาพ

                   (Quantitative) ไม่สามารถวัดออกมาเป็นค่าตัวเลขได้แน่นอน ซึ่งอาจจะตีออกมาในรูปของดีเลว
                                 3.2.2 การวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ (Digital analysis) ที่ให้ผลข้อมูลในเชิงปริมาณ

                   (Quantitative) ที่สามารถแสดงผลการวิเคราะห์ออกมาเป็นค่าตัวเลขได้การวิเคราะห์หรือการจำแนกประเภท

                   ข้อมูลต้องคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้
                          1) Multi-temporal approach คือ การเปลี่ยนแปลงไปตามการเวลา ซึ่งการวิเคราะห์จำเป็นจะต้อง

                   ใช้ข้อมูลหลายช่วงเวลา เพื่อนำมาเปรียบเทียบหาความแตกต่างนำมาเสริมหรือเพิ่มข้อมูลหรือนำมาลบออก

                   เพื่อเน้นข้อมูลบางประเภทให้เด่นขึ้น
                          2) Multispectral approach คือ ข้อมูลในบริเวณเดียวกันและเวลาเดียวกันจะถูกบันทึกในหลาย

                   ช่วงคลื่นพร้อม ๆ กันและในแต่ละช่วงความยาวคลื่น (Band) ที่แตกต่างกันจะให้ค่าการสะท้อนพลังงานของ

                   วัตถุหรือพื้นผิวโลกที่แตกต่างกันซึ่งเป็นผลดีในการแยกจำแนกวิเคราะห์ข้อมูล
                          3) Multilevel approach คือ ระดับความละเอียดในการจำแนกหรือวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การ

                   วิเคราะห์ที่ต้องการความละเอียดสูงจะต้องใช้ข้อมูลดาวเทียมที่ให้รายละเอียดภาพสูง (High resolution) เช่น
                   ข้อมูลจากดาวเทียม SPOT หรือจากภาพถ่ายทางอากาศ ส่วนการวิเคราะห์ในระดับภูมิภาคก็อาจใช้ข้อมูลจาก

                   ดาวเทียม LANDSAT เป็นต้น การแปลและการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจจากระยะไกล หรือข้อมูลจาก

                   ดาวเทียมมีขั้นตอนต่าง ๆ พอสรุป ได้ดังนี้
                                 3.1) การตรวจสอบข้อมูลและรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน

                                 3.2) การเก็บข้อมูลภาคพื้นดิน
                                 3.3) การแปลและวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียม

                          - การวิเคราะห์ด้วยสายตา (Visual analysis) โดยการใช้ภาพ หรือฟิล์ม ในการแปลหรือวิเคราะห์ข้อมูล
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19