Page 15 - ต้นแบบอนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเชียงใหม่ Soil and Water Conservation Model in Chiang Mai Province.
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            7

                          - การวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ (Digital analysis) โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเชิงตัวเลข (Digital

                   image) ที่ผ่านขบวนการทำ Image enhancement และ Geometric correction เรียบร้อย
                                 3.4) การจัดทำแผนที่ (Map displaying)

                                 3.5) การตรวจสอบความถูกต้อง (Mapping accuracy)

                          ข้อมูลจากภาพดาวเทียมเป็นข้อมูลที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพการเปลี่ยนแปลง (Changing) ของ
                   ทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรน้ำ การขยายตัวของชุมชน การพัฒนาด้านสาธารณูปโภค แสดง

                   ถึงการเคลื่อนไหว (Dynamic) ของเศรษฐกิจสังคมตลอดจนการขาดดุลของธรรมชาติ ในลักษณะของมลภาวะ

                   (Pollution) ของทรัพยากรดินและน้ำได้เป็นอย่างดี ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นต้องแปลตีความโดยผู้แปล
                   ตีความที่มีประสบการณ์ในการแปล จึงจะสามารถเปลี่ยนข้อมูลจากภาพมาเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ

                   (Quantitative) และข้อมูลในเชิงคุณภาพ (Qualitative) ได้ และในการนำเอาศาสตร์ทางด้าน Remote
                   sensing มาใช้ในการวางแผนการบริหาร ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยนั้น มี

                   วัตถุประสงค์ ดังนี้

                          - เพื่อสำรวจปริมาณ คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในปัจจุบัน
                          - เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประเมินความรุนแรงของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดการพัฒนาและใช้

                   ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีในปัจจุบัน
                          - เพื่อวางแผนแก้ไขและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสม สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่

                   อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม กำหนดเป็นแนวทางใน

                   การพัฒนาและควบคุมการใช้งานทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ของประเทศ
                          - เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง (Changing) โดยติดตามและดูการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรและ

                   สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ได้อย่างสม่ำเสมอรวมทั้งการศึกษาสภาพในอดีต เพื่อดูแนวโน้มคาดการณ์ และวางแผน

                   สำหรับอนาคต
                          - เพื่อบ่งบอกสัญญาณเตือนภัย (Warning) เมื่อนำข้อมูลหรือแผนที่ทรัพยากรธรรมชาติหลาย ๆ ปี

                   มาเปรียบเทียบหาความแตกต่าง หรือความเปลี่ยนแปลง (Temporal change) ทำให้สามารถทำนาย หรือ

                   พยากรณ์สถานการณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ
                   ในการส่งสัญญาณเตือนภัยให้รู้ว่าทรัพยากรประเภทนั้น ๆ อยู่ในขั้นรุนแรงหรือขั้นวิกฤติ ควรจะมีมาตรการใน

                   การป้องกันหรือแก้ไขอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ต่อการวางแผน การพัฒนาและบริหารการจัดการ
                   ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศอีกด้วย




                                                  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา


                          นิติพัฒน์ นวมมะโน (2555) ประเมินปริมาณการชะล้างพังทลายของดิน และมูลค่าการสูญเสียทาง

                   เศรษฐศาสตร์จากผลกระทบของการชะล้างพังทลายของดินบนเขาคอหงส์ มีวิธีการวิจัยได้แก่ 1) เก็บและ
                   รวบรวมข้อมูลการชะล้างพังทลายของดินจากการวางแปลงทดลองขนาด 4x12 เมตร ในพื้นที่การใช้ประโยชน์

                   3 ประเภท พื้นทีละ 3 แปลงทดลอง บนความชัน 18-21% แล้วนำไปวิเคราะห์ปริมาณและค่าปัจจัยต่าง ๆ
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20