Page 52 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 52

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           37


                          4.ธาตุอาหารพืชที่สูญเสียจากการชะล้างพังทลายของดิน

                            ในการทดลองปีที่ 2 (พ.ศ.2562) เมื่อนำปริมาณธาตุอาหารพืชในดินและปริมาณตะกอนดินที่

                   สูญเสียไปจากแปลงมาคำนวณหาธาตุอาหารพืชที่สูญเสียจากการชะล้างพังทลายของดิน พบว่าปริมาณ
                   ไนโตรเจนทั้งหมดที่สูญเสียไปมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.1) โดยพบว่าตำรับการทดลอง

                   ที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินสูญเสียไนโตรเจนน้อยสุดที่ 0.82 กิโลกรัมต่อไร่ แต่

                   ไม่แตกต่างจากตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง
                   สูญเสียไนโตรเจนที่ 3.57 และ 3.70 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และพบว่าตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดิน

                   และเผาตอซังสูญเสียไนโตรเจนสูงสุดถึง 14.97 กิโลกรัมต่อไร่ ดังตารางที่ 21

                            การสูญเสียโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินพบว่าความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง

                   (p<0.1) โดยพบว่าตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินสูญเสีย

                   โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์น้อยสุดที่ 0.04 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่แตกต่างจากตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวน
                   และเผาตอซัง ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซังสูญเสียโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ที่ 0.26

                   และ 0.21 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และพบว่าตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซังสูญเสีย

                   โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์สูงสุดถึง 0.97 กิโลกรัมต่อไร่

                            การสูญเสียแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินพบว่าความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง

                   (p<0.1) โดยพบว่าตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินสูญเสีย
                   แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์น้อยสุดที่ 0.02 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง

                   ตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง และตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง สูญเสีย
                   แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ที่ 0.06, 0.09 และ 0.30 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ


                            การสูญเสียแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินพบว่าความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง
                   (p<0.1) โดยพบว่าตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินสูญเสีย

                   แคลเซียมที่เป็นประโยชน์น้อยสุดที่ 0.11 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง ตำรับ

                   การทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง และตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง สูญเสีย
                   แคลเซียมที่เป็นประโยชน์ที่ 0.51, 0.78 และ 2.17 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ


                            การสูญเสียฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินพบว่าความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง
                   (p<0.1) โดยพบว่าตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินสูญเสีย

                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์น้อยสุดโดยน้อยกว่า 0.00 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผา
                   ตอซัง ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซังสูญเสียฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ที่ 0.05 และ 0.08

                   กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และพบว่าตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซังสูญเสียฟอสฟอรัสที่เป็น

                   ประโยชน์สูงสุดถึง 0.21 กิโลกรัมต่อไร่
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57