Page 48 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           35

                   กิโลกรัม ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง และตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดินไม่เผาตอซัง

                   และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินมีปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินที่ 135 และ 141 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                   ตามลำดับ และพบว่าตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซังมีปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ใน

                   ดินต่ำสุดที่ 113 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                            ปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ (Available calcium : Avail.Ca) ในดินหลังการทดลอง พบว่า
                   ปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและ

                   เผาตอซังมีปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินสูงสุดที่ 1,407 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตำรับการทดลองที่ 2

                   ไถพรวนดินสับกลบตอซัง ตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดินไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน และ
                   ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซังมีปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินที่ 891 , 948 และ

                   968 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
                            ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Available Phosphorus : Avail.P) ในดินหลังการทดลอง

                   พบว่าปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.5) โดยตำรับ

                   การทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซังมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูงสุดที่ 131.08 มิลลิกรัม
                   ต่อกิโลกรัม ตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดินไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน ตำรับการทดลองที่ 1

                   ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง และตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น
                   ประโยชน์ในดินที่ 57.53, 95.80 และ 96.12 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ดังตารางที่ 20

                            พบว่าการไถพรวนดินสับกลบตอซังมีปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ปริมาณ

                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูง ทั้งนี้การไถพรวนดินสับกลบตอซังส่งเสริมให้เกิดการย่อยสลายตัวของตอ
                   ซังข้าวโพดและปลดปล่อยธาตุอาหารลงดิน สำหรับการเผาตอซังทำให้ปริมาณโพแทสเซียม และแมกนีเซียมที่

                   เป็นประโยชน์ในดินสูงขึ้นจากเถ้าตอซังข้าวโพด การปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินนั้นให้ธาตุอาหารพืชในดินต่ำสุด

                   ทั้งนี้เกิดจากการดูดใช้ธาตุอาหารของถั่วปิ่นโตเพื่อการเจริญเติบโตด้วยเช่นกัน สอดคล้องกับการทดลองใน
                   ปีที่ 1
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53