Page 47 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 47

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           34

                   ตารางที่ 19 สมบัติทางกายภาพบางประการของดินหลังการทดลอง ปี 2562

                                            Bulk Density                            Hydraulic conductivity
                         Treatment                           Soil Moisture Content
                                              (g/cm3)                                  Of saturated soil
                    T1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง          1.30                21.83                        8.52  b

                    T2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง          1.22                23.57                       34.24  a
                    T3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง          1.19                21.88                       40.19  a
                    T4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง      1.24                24.23                       35.30  a

                    และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน
                            F-test                         ns                   ns                           **
                             cv                        10.40                 20.00                        8.40


                            เก็บตัวอย่างดินหลังการทดลองปีที่ 2 (พ.ศ.2562) ที่ระดับความลึก 15 เซนติเมตร และวิเคราะห์

                   สมบัติทางเคมีของดินบางประการ พบว่าความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) ในทุกตำรับการทดลองไม่มีความ

                   แตกต่างทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับ
                   กลบตอซัง และตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินมีความเป็น

                   กรด-ด่างของดินที่ 5.27, 5.37 และ  5.77 ตามลำดับ และพบว่าตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอ
                   ซังมีความเป็นกรด-ด่างของดินสูงสุดที่ 6.00

                            ปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic Matter : OM) ในดินหลังการทดลอง พบว่าปริมาณอินทรียวัตถุใน

                   ดินไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซังมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงสุด
                   ที่ 2.84 เปอร์เซ็นต์ สำหรับตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดินไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน ตำรับ

                   การทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอ และตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง มีปริมาณ

                   อินทรียวัตถุในดินที่ 2.46, 2.52 และ 2.82 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
                            ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (Total Nitrogen : Total N) ในดินหลังการทดลอง พบว่าปริมาณ

                   ไนโตรเจนทั้งหมดในดินไม่มีความแตกต่างทางสถิติ  โดยตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดินไม่เผาตอซังและ
                   ปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับ

                   กลบตอซัง และตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซังมีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดินที่ 0.68, 0.67,

                   0.65 และ 0.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
                            ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (Available Potassium : Avail.K) ในดินหลังการทดลอง

                   พบว่าปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 2 ไถ
                   พรวนดินสับกลบตอซัง ตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน ตำรับการ

                   ทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง และตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซังมีปริมาณ

                   โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินที่ 358, 365, 436 และ 471 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
                            ปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ (Available Magnesium : Avail.Mg) ในดินหลังการทดลอง

                   พบว่าปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.5) โดยตำรับ

                   การทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซังมีปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินสูงสุดที่ 165 มิลลิกรัมต่อ
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52