Page 46 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 46
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
33
ตารางที่ 18 ปริมาณตะกอนดินแห้งที่สูญเสียดิน ปี 2562
Annual soil loss
Treatment
(ton/rai/year)
T1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง 0.56
T2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง 0.57
T3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง 2.24
T4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง
และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน 0.11
F-test ns
C.V. (%) 12.36
3.สมบัติบางประการของดินหลังการทดลอง
เก็บตัวอย่างดินหลังการทดลองปลูกข้าวโพดในที่ 2 และทำการศึกษาสมบัติทางกายภาพของดิน
บางประการ พบว่าความหนาแน่นของดิน (Bulk Density) ในทุกตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
โดยตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซังมีความหนาแน่นของดินสูงสุดที่ 1.30 กรัมต่อตาราง
เซนติเมตร ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง และตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอ
ซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินมีความหนาแน่นของดินที่ 1.24 และ 1.22 กรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำดับ
ตำรับการทองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซังมีความหนาแน่นของดินต่ำสุดที่ 1.19 กรัมต่อตารางเซนติเมตร
เมื่อทำการหาปริมาณความชื้นในดิน (Soil Moisture Content) พบว่าปริมาณความชื้นในดินใน
ทุกตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยปริมาณความชื้นในดิน มีค่าสูงสุดที่ 24.23 เปอร์เซ็นต์โดย
น้ำหนัก และมีค่าต่ำสุดที่ 21.83 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
เมื่อหาความแตกต่างทางสถิติของค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดิน (Hydraulic conductivity Of
saturated soil) พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.1)
โดยตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง มีค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินต่ำสุดที่ 9.25 เซนติเมตร
ต่อชั่วโมง และไม่พบความแตกต่างทางสถิติในตำรับการทดลองอื่น โดยตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและ
เผาตอซังมีค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินสูงสุดที่ 40.19 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถ
พรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน และตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง มีค่า
สัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินที่ 35.30 และ 34.24 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ ดังตารางที่ 19