Page 45 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           32

                          2.การชะล้างพังทลายของดิน


                            การศึกษาการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ หมู่ 7 ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
                   จาก แปลงศึกษาขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 22 เมตร ซึ่งมีการใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่

                   ละดับความลาดชัน 20 เปอร์เซ็นต์ โดยทำการศึกษาการชะล้างพังทลายของดินจากปริมาณตะกอนดินในถัง
                   ดักตะกอน ให้ผลการศึกษาดังนี้


                            2.1 ปริมาณตะกอนดินในถังดักตะกอน

                                 จากการศึกษาการชะล้างพังทลายของดินจากถังดักตะกอนดิน ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                   ปี 256 ทำการเก็บตะกอนดินในถังดักตะกอนตลอดฤดูปลูกรวม 5 ครั้ง ดังตารางที่ 17 พบว่าตำรับการทดลอง
                   ที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน พบปริมาณตะกอนดินในถังดักตะกอนน้อยกว่า

                   ตำรับการทดลองอื่นๆ

                   ตารางที่ 17 ปริมาณตะกอนดินแห้งที่สูญเสียดินในแต่ละสตอร์ม ปี 2562

                                                            Annual soil loss (ton/rai)             Total
                             Treatment            20-Jun  5-Aug  20-Aug-  6-Sep       20-Sep    ton/rai/year


                    T1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง          0.18    0.69      1.99     0.00      0.19          3.06
                    T2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง          0.16    0.11      0.08     0.07      0.12          0.54

                    T3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง          0.12    0.71      1.20     0.00      0.22          2.24

                    T4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง      0.02    0.06      0.02     0.00      0.02          0.11

                        และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน


                          จากการศึกษาการชะล้างพังทลายของดินจากถังดักตะกอนดิน ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี

                   2562 พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.5) โดยตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง มี

                   ปริมาณตะกอนดินสะสมเฉลี่ยสูงสุด 3.06 ตันต่อไร่ต่อปี ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง มี
                   ปริมาณตะกอนดินสะสมเฉลี่ย ที่ 2.24 ตันต่อไร่ต่อปี ตำรับการทดลองที่ 2 มีปริมาณตะกอนดินสะสมเฉลี่ย ที่

                   0.54 ตันต่อไร่ต่อปี และตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน มีปริมาณ

                   ตะกอนดินสะสมเฉลี่ยน้อยที่สุด 0.11 ตันต่อไร่ต่อปี ดังตารางที่ 18
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50