Page 38 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           25


                          4.ธาตุอาหารพืชที่สูญเสียจากการชะล้างพังทลายของดิน

                            ในการทดลองปีที่ 1 (พ.ศ.2561) เมื่อนำปริมาณธาตุอาหารพืชในดินและปริมาณตะกอนดินที่

                   สูญเสียไปจากแปลงมาคำนวณหาธาตุอาหารพืชที่สูญเสียจากการชะล้างพังทลายของดิน พบว่าปริมาณ
                   ไนโตรเจนทั้งหมดที่สูญเสียไปมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.1) โดยพบว่าตำรับการทดลอง

                   ที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินสูญเสียไนโตรเจนน้อยสุดที่ 0.12 กิโลกรัมต่อไร่

                   ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง และตำรับ
                   การทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซังสูญเสียไนโตรเจนที่ 1.05, 1.66 และ 1.84 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ


                            การสูญเสียโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินพบว่าความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง
                   (p<0.1) โดยพบว่าตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินสูญเสีย

                   โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์น้อยสุดที่ 0.03 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง

                   ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง และตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซังสูญเสีย
                   โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ที่ 0.19, 0.39 และ 0.57 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ


                            การสูญเสียแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินพบว่าความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง
                   (p<0.1) โดยพบว่าตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินสูญเสีย

                   แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์น้อยสุดที่ 0.02 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง

                   ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง และตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซังสูญเสีย
                   แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ที่ 0.14, 0.23 และ 0.36 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ


                            การสูญเสียแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินพบว่าความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง
                   (p<0.1) โดยพบว่าตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินสูญเสีย

                   แคลเซียมที่เป็นประโยชน์น้อยสุดที่ 0.12 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง ตำรับ
                   การทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง และตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซังสูญเสีย

                   แคลเซียมเป็นประโยชน์ที่ 1.07, 1.92 และ 2.38 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ

                          การสูญเสียฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินพบว่าความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.1)

                   โดยพบว่าตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินสูญเสียฟอสฟอรัสที่เป็น

                   ประโยชน์น้อยสุดโดยน้อยกว่า 0.00 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซังสูญเสีย
                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ที่ 0.01 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง และตำรับ

                   การทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซังสูญเสียฟอสฟอรัสเป็นประโยชน์เท่ากันที่ 0.02 กิโลกรัมต่อไร่ ดัง
                   ตารางที่ 12


                          5.ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                            จากการศึกษาผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ที่ปลูกในปี 2561 พบว่าผลผลิตรวม

                   เปลือกมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.5) โดยตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง
                   มีผลผลิตรวมเปลือกสูงสุดที่ 1,723.67 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่แตกต่างจากตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43