Page 34 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
22
เมื่อหาความแตกต่างทางสถิติของค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดิน (Hydraulic conductivity Of
saturated soil) พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.1)
โดยตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซังมีค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินสูงสุดที่ 40.60
เซนติเมตรต่อชั่วโมง ตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน ตำรับการ
ทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง มีค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินที่ 32.07 และ 27.14 เซนติเมตรต่อ
ชั่วโมง ตามลำดับ และตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง มีค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินต่ำสุด
ที่ 9.25 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ดังตารางที่ 10
ตารางที่ 10 สมบัติทางกายภาพบางประการของดินหลังการทดลอง ปี 2561
Treatment Bulk Density Soil Moisture Content Hydraulic conductivity
(g/cm3) (% by wt) of saturated soil (cm/hr)
T1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง 1.43 19.65 9.25 c
T2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง 1.38 21.22 27.14 b
T3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง 1.34 19.70 40.60 a
T4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง
และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน 1.34 22.51 32.07 ab
F-test ns ns **
cv 7.10 10.73 13.16
เก็บตัวอย่างดินหลังการทดลองปีที่ 1 (พ.ศ.2561) ที่ระดับความลึก 15 เซนติเมตร และวิเคราะห์
สมบัติทางเคมีของดินบางประการ พบว่าความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) ในทุกตำรับการทดลองมีความ
แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.5) โดยตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่ว
ปิ่นโตคลุมดินมีความเป็นกรด-ด่างของดินน้อยสุดที่ 5.6 ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซังมีค่า
ความเป็นกรด-ด่างของดินที่ 6.0 และพบว่าตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง และตำรับการ
ทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง มีค่าความเป็นกรด-ด่างของดินเท่ากันที่ 6.1 ดังตารางที่ 11
ปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic Matter : OM) ในดินหลังการทดลอง พบว่าปริมาณอินทรียวัตถุใน
ดินมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.1) โดยตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซังมี
ปริมาณอินทรียวัตถุสูงสุดที่ 2.49 เปอร์เซ็นต์ ตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง ตำรับการทดลอง
ที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซังมีปริมาณอินทรียวัตถุที่ 1.98 และ 1.96 เปอร์เซ็นต์ และตำรับการทดลองที่ 4
ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน มีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำสุดที่ 1.67 เปอร์เซ็นต์
ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (Total Nitrogen : Total N) ในดินหลังการทดลอง พบว่าปริมาณ
ไนโตรเจนทั้งหมดในดินมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.5) โดยตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับ
กลบตอซังมีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดินสูงสุดที่ 0.12 เปอร์เซ็นต์ ตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผา
ตอซัง ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง และตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดินไม่เผาตอซัง
และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินมีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดินเท่ากันที่ 0.10 เปอร์เซ็นต์