Page 13 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            1

                                                       หลักการและเหตุผล


                          ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ แต่ละปีเกษตรกรไทยเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คิดเป็น

                   พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 8 ล้านไร่ โดยกระจายอยู่บริเวณรอยต่อของภาคกลางตอนบน ภาคเหนือ และภาค

                   ตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ปลูกประมาณ 80 % อาศัยน้ำฝน (สุขุม, 2547) สำหรับในภาคเหนือ จังหวัด
                   เชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงถึง 130,725 ไร่ และมีปริมาณจุดความร้อน  (Hot spot) ที่เกิดจาก

                   การไหม้ไฟสูงสุด ถึง 1,006 จุด โดยเฉพาะ อำเภอแม่แจ่มเพียงอำเภอเดียว มีจุดความร้อยสูงถึง 260 จุด จาก

                   การตรวจพบของดาวเทียม Terra c และ Aqua โดยระบบ MODIS  ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2557 ถึง
                   เมษายน 2558  ซึ่งจุดความร้อนส่วนใหญ่ปรากฏในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ทั้งนี้เนื่องจากการเผาตอซัง

                   ข้าวโพดเพื่อเตรียมพื้นที่ปลูก เป็นวิธีที่ง่าย ไม่สิ้นเปลืองแรงงานและค่าใช้จ่าย เกษตรกรจึงนิยม จึงกลายเป็น
                   ปัญหาส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน และส่งผลต่อ

                   ทรัพยากรดิน  สมบัติดิน ความแน่นทับของดิน อัตราการซึมของน้ำลดลง การไหลทางแนวราบสูงขึ้น เกิดการ

                   สูญเสียดินสูงขึ้น ความชื้นในดิน และการสูญเสียธาตุอาหารพืช (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2558)
                          การปลูกพืชโดยไม่มีการไถพรวน (No-tillage) เป็นวิธีการที่ช่วยอนุรักษ์ดิน และน้ำได้ดี เป็นวิธีที่

                   สิ้นเปลืองแรงงานและเงินทุนน้อยกว่าการไถพรวนปกติประมาณ 7-18 %สามารถลดความเสียหายของพืชไร่
                   ในช่วงแล้งได้ดี อนุรักษ์ความชื้นในดิน และมีประสิทธิภาพการใช้น้ำสูงกว่าการไถพรวนปกติ นอกจากนี้ยัง

                   พบว่าการปลูกข้าวโพดโดยไม่ไถพรวนจะทำให้อัตราการไหลซึมของน้ำ (Infiltrationrate) เพิ่มขึ้น 2-3 เท่า

                   (สัมฤทธิ์, 2541) กักเก็บคาร์บอนในดินเพิ่มขึ้นและถ้าปฏิบัติต่อเนื่องเป็นเวลานานจะสามารถเกิดความยั่งยืน
                   ของระบบนิเวศเกษตรได้ (Roldán et al., 2007) เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงศึกษา “ผลกระทบจากเผาตอซัง

                   และการไม่ไถพรวนดินเพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อสมบัติดิน การสูญเสียดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่”


                                                          วัตถุประสงค์

                          1. เพื่อศึกษาผลกระทบจากการเผาตอซังข้าวโพด ต่อสมบัติดิน การสูญเสียดิน การสูญเสียธาตุ

                   อาหารพืชความชื้นดิน  และการกักเก็บคาร์บอนในดิน

                          2. เพื่อศึกษาผลของการปลูกข้าวโพด ต่อสมบัติดิน การสูญเสียดิน การสูญเสียธาตุอาหารพืช
                   ความชื้นดิน และการกักเก็บคาร์บอนดินในดินภายใต้สภาพการปลูกแบบไม่ไถพรวนดิน

                          3. เพื่อเปรียบเทียบผลของการเผาตอซังเตรียมดินและการปลูกข้าวโพดภายใต้สภาพไม่ไถพรวนดิน

                   ต่อสมบัติดิน ความหนาแน่น การซาบซึมน้ำ ความชื้นดิน การสูญเสียดินและการกักเก็บคาร์บอนในดิน




                                                        การตรวจเอกสาร
                       1.สถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ

                          ปี 2558 พบสถานการณ์วิกฤตหมอกควันที่มีผลกระทบรุนแรงในพื้นที่ภาคเหนือตั้งแต่ปลายเดือน
                   กุมภาพันธ์ พบฝุ่นละอองเกินมาตรฐานสูงสุด 381 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ในระดับที่มีผลกระทบ

                   ต่อสุขภาพของประชาชน และจากการตรวจพบจุดความร้อน (Hotspot) ของภาคเหนือ 10 จังหวัด ซึ่งใช้
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18