Page 40 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          29

                   4. วิเคราะห์จุดความร้อน พื้นที่ถูกเผาไหม้ ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และศึกษา

                   ผลกระทบของการเผาไหม้ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                          การสำรวจจำนวนจุดความร้อนที่เกิดขึ้นนั้นสำรวจและรวบรวมข้อมูลจากข้อมูลดาวเทียมระบบเซนเซ

                   อร MODIS ซึ่งเป็นเครื่องวัดคลื่นเชิงสเปกตรัมที่ถูกติดตั้งบนดาวเทียม Terra และ Aqua ถูกออกแบบขึ้นเพื่อ

                   ใชในการติดตามและตรวจสอบข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสภาพสิ่งแวดลอมในระดับภูมิภาค หลังจากนั้น
                   นำเข้าข้อมูลในโปรแกรม ThaiCO HOTSPOT ของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จัดทำขึ้นมาเพื่อ
                                                 2
                   รายงานสถานการณ์การเกิดไฟป่าและการเผาไหม้เศษพืชในพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งจะสามารถคำนวณการปล่อย

                   ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้เทคโนโลยีจากดาวเทียมรายงานสถานที่แท้จริงที่เกิดไฟไหม้ของประเทศไทย
                   แล้วนำมาประมวลผลผ่านโปรแกรม ThaiCO HOTSPOT รวมถึงข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่จริง (Ground
                                                         2
                   Truth Survey) เพื่อนำมาเตรียมข้อมูลในรูประบบสารสนเทศภูมิศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง
                          การประเมินพื้นที่ที่ถูกเผาไหม้จากการประมวลผลข้อมูลจุดความร้อนจากภาพถ่ายดาวเทียมระบบ

                   MODIS


                          4.1 แปลงข้อมูลจุดความร้อนให้เป็นพื้นที่ โดยจุดความร้อนนั้นได้จากการตรวจจับการเปลี่ยนแปลง
                   ของอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกอย่างรวดเร็ว ดาวเทียมระบบ MODIS ที่มีขนาดจุดภาพ 1000 x 1000 เมตร จะทำ


                   การตรวจวัดตำแหน่งที่เกิดไฟไหม้ภายในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร แล้วประมวลผลเป็น 1 จุดความร้อน หรือถ้า
                   มีตำแหน่งไฟไหม้มากกว่า 1 จุดภายในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตรเดียวกัน จะนับเป็น 1 จุดความร้อนเช่นกัน


                   ดังนั้นขนาดของพื้นที่จุดความร้อน 1 จุด จะประเมินจากขนาดของจุดภาพของดาวเทียมระบบ MODIS ที่มี
                   ขนาดจุดภาพ 1000 x 1000 เมตร (ปัณณธร และคณะ, 2561) (จุดความร้อน 1 จุด จะมีพื้นที่เท่ากับ 1000 x


                   1000 ตารางเมตร)
                          ในการประเมินขนาดของพื้นที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์แปลงข้อมูลจุด (Point) ให้เป็น


                   ข้อมูลราสเตอร์ (Raster) ที่มีขนาด 1000 x 1000 เมตร และแปลงข้อมูลเป็นเชฟไฟล์ (Shapefile) ในรูปแบบ

                   รูปหลายเหลี่ยม (Polygon) เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ต่อไป ดังแสดงในภาพที่ 4






















                   ภาพที่ 4 การแปลงข้อมูลจุดความร้อนให้เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45