Page 39 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 39
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
28
น้ำไหลบ่า (soil transportation) ในหน่วยกิโลกรัมต่อตารางเมตร แล้วตามแนวคิดของแบบจำลอง MMF
จะนำแผนที่ของทั้ง 2 กระบวนการมาเปรียบเทียบกัน โดยที่ปริมาณการสูญเสียดินของกระบวนการใด
ที่น้อยกว่าปริมาณการสูญเสียดินที่เกิดจากกระบวนการนั้นก็จะเป็นปริมาณดินที่เกิดจากการชะล้างพังทลาย
ของดินในพื้นที่นั้น สำหรับการจัดทำแผนที่การชะล้างพังทลายของดินสามารถทำได้ดังนี้
- เขียนคำสั่งโดยมีเงื่อนไขว่าระหว่างปริมาณการแตกกระจายของเม็ดดิน และปริมาณเม็ดดินที่
สามารถถูกพัดพาไปกับน้ำไหลบ่า ปริมาณของกระบวนการใดมีค่าน้อยกว่าให้ถือเป็นปริมาณการชะล้าง
พังทลายของดิน
- เมื่อได้แผนที่การชะล้างพังทลายของดินซึ่งมีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อตารางเมตรแล้ว ทำการ
เปลี่ยนค่าดังกล่าวให้อยู่ในหน่วย ตัน/ไร่
- ทำการแปลงจากข้อมูลจากข้อมูล raster ขนาด grid cell size 100 x 100 ตารางเมตร ไปเป็น
ข้อมูล Coverage
- ทำการแบ่งระดับการชะล้างพังทลายของดินออกเป็นระดับความรุนแรง 5 ระดับ คือตั้งแต่ระดับ
ที่มีการชะล้างพังทลายของดินน้อยมากจนถึงระดับที่รุนแรงมาก และแยกระหว่างพื้นที่ราบและพื้นที่สูง จะ
ได้ผลการศึกษาเป็นแผนที่แสดงระดับการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทยรายปี สำหรับการจัดแบ่ง
ระดับความรุนแรงอธิบาย ดังแสดงในตารางที่ 7
ตารางที่ 7 การจัดระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย
อัตราการสูญเสียดิน
ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน
ตัน/ไร่/ปี มิลลิเมตร/ปี
พื้นที่ราบ
1L : น้อยมาก (very slight) 0 – 2 0 – 0.96
2L : น้อย (slight) 2 – 5 0.96 – 2.40
3L : ปานกลาง (moderate) 5 - 15 2.40 – 7.20
4L : รุนแรง (severe) 15 – 20 7.20 – 9.60
5L : รุนแรงมาก (very severe) มากกว่า 20 มากกว่า 9.60
พื้นที่สูง
1H : น้อยมาก (very slight) 0 – 2 0 – 0.96
2H : น้อย (slight) 2 – 5 0.96 – 2.40
3H : ปานกลาง (moderate) 5 - 15 2.40 – 7.20
4H : รุนแรง (severe) 15 – 20 7.20 – 9.60
5H : รุนแรงมาก (very severe) มากกว่า 20 มากกว่า 9.60
หมายเหตุ: พื้นที่ราบ หมายถึง ที่ราบลำน้ำ ที่ลาดเชิงเขา และเนินเขาความลาดชันน้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
พื้นที่สูง หมายถึง ภูเขาและที่ลาดหุบเขาความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
ที่มา: ดัดแปลงจากการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545)