Page 26 - การทำนายผลผลิตข้าวและข้าวโพดเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรง บริเวณพื้นที่สูงลุ่มน้ำแม่แจ่ม Crop Yield Projection at Mae Cham Sub Basin under Extreme Climate Change.
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           16

                   2. การวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ปลูกข้าวและข้าวโพดบริเวณลุ่มน้ าแม่แจ่ม

                          จากการเก็บตัวอย่างดิน จ านวน 442 ตัวอย่าง ในพื้นที่ปลูกข้าวและข้าวโพดบริเวณลุ่มน้ าแม่แจ่ม

                   น ามาวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดินด้วยเครื่อง Elemental  Analyzer  เพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์

                   ของดินโดยใช้เกณฑ์ของส านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน (2547) ในการจ าแนกระดับความอุดมสมบูรณ์
                   จากนั้นน าผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดินไปประมวลผลด้วยโปรแกรมทางด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์

                   ผ่านการวิเคราะห์เชิงพื้นที่โดยการ Interpolation ด้วยวิธี IDW (Inverse Distance Weighted) เพื่อจัดท า

                   แผนที่แสดงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ได้ผลการวิเคราะห์ดังนี้
                          ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าต่ าสุด-สูงสุด อยู่ในช่วง 0.92 - 5.98 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.88

                   เปอร์เซ็นต์ โดยมีค่ามัธยฐานและฐานนิยม เท่ากับ 2.74 และ 3.61 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ ทั้งนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่

                   มีระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง (ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าอยู่ในช่วง 2.50 - 3.50 เปอร์เซ็นต์) คิดเป็น
                   พื้นที่ 1,438,153 ไร่ หรือร้อยละ 58.60 ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม

                          ปริมาณคาร์บอนในดินมีค่าต่ าสุด-สูงสุด อยู่ในช่วง 0.53 - 3.47 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.66
                   เปอร์เซ็นต์ โดยมีค่ามัธยฐานและฐานนิยม เท่ากับ 1.62 และ 2.09 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ ทั้งนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่

                   มีระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง (ปริมาณคาร์บอนในดินมีค่าอยู่ในช่วง 1.45 - 2.03 เปอร์เซ็นต์) คิดเป็น

                   พื้นที่ 1,428,776 ไร่ หรือร้อยละ 58.21 ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม
                          ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดมีค่าต่ าสุด-สูงสุด อยู่ในช่วง 0.05 - 0.57 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 0.15

                   เปอร์เซ็นต์ โดยมีค่ามัธยฐานและฐานนิยม เท่ากับ 0.14 และ 0.10 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ ทั้งนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่
                   มีระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า (ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดมีค่าอยู่ในช่วง 0.10 - 0.30 เปอร์เซ็นต์) คิดเป็น

                   พื้นที่ 2,313,438 ไร่ หรือร้อยละ 94.26 ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม

                          ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีค่าต่ าสุด-สูงสุด อยู่ในช่วง 2.40 - 99.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                   คิดเป็นค่าเฉลี่ย 53.39 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยมีค่ามัธยฐานและฐานนิยม เท่ากับ 49.60 และ 90.20 มิลลิกรัม

                   ต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ทั้งนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินสูงมาก (ปริมาณฟอสฟอรัสมีค่า

                   มากกว่า 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) คิดเป็นพื้นที่ 1,947,629 ไร่ หรือร้อยละ 79.35 ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม
                          และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์มีค่าต่ าสุด-สูงสุด อยู่ในช่วง 3.00 - 159.90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                   คิดเป็นค่าเฉลี่ย 120.13 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยมีค่ามัธยฐานและฐานนิยม เท่ากับ 126.95 และ 128.00

                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ทั้งนี้พื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินสูงมาก (ปริมาณ
                   โพแทสเซียมมีค่ามากกว่า 120 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) คิดเป็นพื้นที่ 1,276,191 ไร่ หรือร้อยละ 52.00 ของพื้นที่

                   ลุ่มน้ าแม่แจ่ม ดังตารางที่ 1 และตารางที่ 2
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31