Page 116 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 116

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           96


                   5. ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อการปลูกข้าวโพดเลี ยงสัตว์
                      5.1 ผลการศึกษา ปี 2561

                          5.1.1 การชะล้างพังทลายของดิน

                            การศึกษาการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ หมู่ 7 ต าบลกองแขก อ าเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
                   จาก แปลงศึกษาขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 22 เมตร ซึ่งมีการใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่

                   ละดับความลาดชัน 20 เปอร์เซ็นต์ โดยท าการศึกษาการชะล้างพังทลายของดินจากปริมาณตะกอนดินในถัง
                   ดักตะกอน ให้ผลการศึกษาดังนี้

                            1) ปริมาณตะกอนดินในถังดักตะกอน

                                 จากการศึกษาการชะล้างพังทลายของดินจากถังดักตะกอนดิน ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                   ปี 2561 พบว่ามีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง (p<0.1) โดยต ารับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและ
                   เผาตอซัง มีปริมาณตะกอนดินสะสมเฉลี่ยสูงสุด 1.91 ตันต่อไร่ต่อปี ต ารับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผา

                   ตอซัง มีปริมาณตะกอนดินสะสมเฉลี่ย ที่ 1.62 ตันต่อไร่ต่อปี ต ารับการทดลองที่ 2 มีปริมาณตะกอนดินสะสม
                   เฉลี่ย ที่ 0.84 ตันต่อไร่ต่อปี และต ารับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน
                   มีปริมาณตะกอนดินสะสมเฉลี่ยน้อยที่สุด 0.12 ตันต่อไร่ต่อปี ดังตารางที่ 55

                   ตารางที่ 55 ปริมาณตะกอนดินแห้งที่สูญเสียดิน ปี 2561

                                    Treatment                              Annual soil loss

                                                                            (ton/rai/year)

                    T1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง                                                      1.91      a
                    T2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง                                                      0.84    ab

                    T3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง                                                      1.62      a
                    T4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง
                         และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน                                                0.12      b

                    F-test                                                                         **

                    C.V. (%)                                                                    33.57



                          5.1.2 ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดเลี ยงสัตว์

                            จากการศึกษาผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ที่ปลูกในปี 2561 พบว่าผลผลิตรวม
                   เปลือกมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยส าคัญ (p<0.5) โดยต ารับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง
                   มีผลผลิตรวมเปลือกสูงสุดที่ 1,723.67 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่แตกต่างจากต ารับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน
                   ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน และการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง ให้ผลผลิตรวมเปลือก

                   1,665.07 และ 1,642.89 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ ต ารับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง ให้ผลผลิต
                   รวมเปลือกน้อยที่สุด ที่ 1,622.12 กิโลกรัมต่อไร่ ดังตารางที่ 13

                            ผลผลิตปอกเปลือกที่ความชื้นไม่เกิน 14.5 เปอร์เซ็นต์ ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ โดยต ารับการ
                   ทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง ให้น้ าหนักผลผลิตปอกเปลือกสูงสุดที่ 1,558.69 กิโลกรัมต่อไร่ ต ารับ
                   การทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง และต ารับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง ให้ผลผลิตรวม
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121