Page 109 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 109

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           92

                          4.3 ผลกระทบของการเผาไหม้ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื นที่ปลูกข้าวโพด

                          พื้นที่ปลูกข้าวโพด ปี 2561/2562
                          ในปี 2561 พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุ คาร์บอน และไนโตรเจนทั้งหมด มีค่าเฉลี่ย 2.72 1.52 และ
                   0.14 เปอร์เซ็นต์ ส่วนฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ มีค่าเฉลี่ย 43.35 และ
                   115.62 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ในขณะที่ปี 2562 ปริมาณอินทรียวัตถุ คาร์บอน และไนโตรเจน

                   ทั้งหมด มีค่าเฉลี่ย 3.16 1.83 และ 0.17 เปอร์เซ็นต์ ส่วนฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่เป็น
                   ประโยชน์ มีค่าเฉลี่ย 45.24 และ 118.74 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ
                          จากการศึกษาผลกระทบของการเผาไหม้ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด พบว่า
                   ในปี 2562 มีจ านวนจุดความร้อนจากการเผาไหม้ในพื้นที่ปลูกข้าวโพด 19 จุด ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

                   ของปริมาณธาตุอาหารในดินจากปี 2561 โดยอินทรียวัตถุ คาร์บอน และไนโตรเจนทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
                   0.44 0.31 และ 0.03 เปอร์เซ็นต์ ส่วนฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ มีค่าเฉลี่ย
                   เพิ่มขึ้น 1.89 และ 3.12 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ดังแสดงในตารางที่ 23
                          เมื่อพิจารณาค่าการวิเคราะห์ทางวิเคราะห์ทางสถิติแบบ Paired Sample T-test พบว่า อินทรียวัตถุ

                   คาร์บอน และไนโตรเจนทั้งหมดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ส่วน
                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยส าคัญที่ระดับ
                   ความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114