Page 108 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 108

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           91

                      4.3 การเผาไหม้ในพื นที่ปลูกข้าวโพด

                          4.3.1 จ้านวนจุดความร้อน
                              จากการติดตามและรวบรวมจุดความร้อนจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาเฉพาะของอาเซียน และระบุ
                   พิกัดด้วยโปรแกรม ThaiCO2HOTSPOT ของกรมพัฒนาที่ดินแล้ว พบว่า ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดบริเวณลุ่มน้ า
                   แม่แจ่ม ปี 2561 – 2563  เกิดจุดความร้อน (Hot Spot) เฉลี่ย 21 จุดต่อปี หรือ 13 19 และ 30 จุด

                   ตามล าดับ รวมทั้ง 3 ปีเท่ากับ 62 จุด ดังภาพที่ 16 เมื่อท าการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของจุดความร้อน
                   ในแต่ละปี พบว่า จ านวนจุดความร้อนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9 จุดต่อปี คิดเป็นร้อยละ 52.02 โดยในปี 2561/2562
                   เพิ่มขึ้น 6 จุด คิดเป็นร้อยละ 46.15 และในปี 2562/2563 เพิ่มขึ้น 11 จุด คิดเป็นร้อยละ 57.89 ส าหรับการ
                   เพิ่มขึ้นของจุดความร้อนในแต่ละปีนั้น อาจเกิดจากสภาวะอากาศที่มีความแห้งแล้ง และปริมาณเศษวัสดุที่

                   สะสมอยู่ ท าให้เกิดการเผาไหม้ได้ง่าย
                          4.3.2 พื นที่ถูกเผาไหม้และปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการประเมินด้วย
                   ข้อมูลจุดความร้อน

                          จากจ านวนจุดความร้อนดังกล่าว สามารถค านวณพื้นที่ถูกเผาไหม้ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดได้ โดยแต่ละ
                   จุดความร้อนมีโอกาสเกิดพื้นที่ถูกเผาไหม้สูงสุด 625 ไร่ (ตามขนาดของความละเอียดของภาพถ่ายดาวเทียม

                   ระบบ Modis 1000 x 1000 เมตร) ส่งผลให้พบพื้นที่ถูกเผาไหม้เฉลี่ย 12,917 ไร่ต่อปี หรือ 8,125 11,875
                   และ 18,750 ไร่ ตามล าดับ ท าให้มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 5,683 ตันต่อปี หรือ
                   3,575 5,225 และ 8,250 ตัน ตามล าดับ
                          เมื่อท าการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ถูกเผาและการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

                   ในแต่ละปี พบว่า ในปี 2561/2562 พื้นที่ถูกเผาไหม้เพิ่มขึ้น 3,750 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.15 ส่วนการ
                   ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น 1,650 ตัน คิดเป็นร้อยละ 46.15 ส าหรับในปี 2562/2563 พื้นที่
                   ถูกเผาไหม้เพิ่มขึ้น 6,875 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 57.89 และการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น 3,025
                   ตัน คิดเป็นร้อยละ 57.89 ดังแสดงในตารางที่ 52

                   ตารางที่ 52 จ านวนจุดความร้อน พื้นที่ถูกเผาไหม้และปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่

                              ปลูกข้าวโพด ปี 2561 – 2563
                                            การ
                           จุดความร้อน   เปลี่ยนแปลง   พื นที่ถูก  การเปลี่ยนแปลง   การ      การเปลี่ยนแปลง
                      ปี                               เผาไหม้  ของพื นที่ถูกเผาไหม้  ปลดปล่อย  การปลดปล่อย CO2
                              (จุด)     จุดความร้อน     (ไร่)                     CO2 (ตัน)
                                         จุด    %                ไร่      %                  ตัน      %
                    2561       13                      8,125                       3,575
                    2562       19        6     46.15   11,875   3,750    46.15     5,225    1,650    46.15
                    2563       30        11    57.89   18,750   6,875    57.89     8,250    3,025    57.89
                     รวม       62        17    27.42  38,750  10,625     27.42    17,050   4,675     27.42
                    เฉลี่ย     21        9     52.02  12,917    5,313    52.02     5,683   2,338     52.02
                   ที่มา: ดัดแปลงมาจาก กรมพัฒนาที่ดิน (2558) และ Zhang et al. (2018)
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113