Page 6 - การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน
P. 6
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4
การตรวจเอกสาร
1. หญ้าแฝก
หญ้าแฝก (Vetiveria sp.) เป็นพืชในวงศ์หญ้า (Family Gramineae) กระจายพันธุ์อยู่ในทุก
ภูมิภาคของโลก สันนิษฐานว่าหญ้าแฝกมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียและกระจายพันธุ์ไปสู่ภูมิภาค
เอเชียใต้ เจริญได้ในทุกสภาพแวดล้อม ได้แก่ สภาพภูมิประเทศที่ราบใกล้เคียงระดับน้ำทะเลถึงพื้นที่
บนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 2,600 เมตร ภูมิอากาศตั้งแต่ฝนตกชุกเกือบตลอดปี เช่น ในประเทศ
มาเลเซีย จนถึงเขตแห้งแล้งในประเทศอินเดีย เติบโตได้ในดินเกือบทุกประเภท ทั้งดินร่วน ดินทราย
ดินตะกอนจนถึงดินดาน ระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ตั้งแต่ดินเปรี้ยว (pH 4.5) ไปจนถึงดินด่าง
(pH 10.5) ดินเค็ม (EC 20 เดซิซีเมนต่อเมตร) ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝน
น้อย 200มิลลิเมตร ถึงพื้นที่ที่มีฝนตกชุก 3,900-5,000 มิลลิเมตร พื้นที่ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นต่ำ
กว่าศูนย์องศาเซลเซียส จนถึงอุณหภูมิร้อนจัดที่ 45 องศาเซลเซียส (กรมพัฒนาที่ดิน, 2541)
1.1 ลักษณะของหญ้าแฝก
หญ้าแฝกเป็นพืชตระกูลหญ้าเช่นเดียวกับ อ้อยหรือตะไคร้ ขึ้นอยู่ ตามธรรมชาติในเขตร้อน
กระจายทั่วไปในประเทศไทย จัดเป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ตั้งแต่
พื้นที่ลุ่มจนถึงพื้นที่ดอน ลักษณะกอหนาแน่น เส้นผ่าศูนย์กลางกอประมาณ 50-90 เซนติเมตรมีราก
สานกันแน่นหยั่งตรงลึกแนวดิ่งลงในดินไม่แผ่ขนาน
1.2 ลักษณะทางพฦกษศาสตร์
1.2.1 ลำต้น
หญ้าแฝกมีลักษณะเป็นพุ่มกอ ใบยาวตั้งตรงสูง มักพบขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ใหญ่หรือ
กระจายอยู่ไม่ไกลกันนัก กอหญ้าแฝกมีขนาดค่อนข้างใหญ่ โคน กอเบียดกันแน่นเป็นลักษณะ
เฉพาะที่แตกต่างจากหญ้าอื่นชัดเจน ต้นแบน เกิดจากส่วนของโคนใบที่จัดเรียงพับช้อนกัน ลำต้นแท้
มีขนาดเล็กอยู่ใน กาบใบบริเวณคอดิน
ในประเทศไทยหญ้าแฝกจะพบมากในสภาพโล่งแจ้งโดยเฉพาะบริเวณ ใกล้น้ำที่ดิน
มีความชุ่มขึ้นสูง และในป่าเต็งรัง หญ้าแฝกจะแตกหน่อใหม่ ทดแทนต้นเก่าอยู่เสมอ โดยแตกทาง
ต้านข้างรอบกอเดิม ท้าให้กอขยาย ขนาดใหญ่ขึ้น หญ้าแฝกมีลำต้นสั้น ข้อและปล้องไม่ชัดเจน การ
แตกตะเกียง และการยกลำต้นขึ้นเตี้ยๆ เหนือพื้นดินจะไม่พบมากในสภาพธรรมชาติ แต่ พบในหญ้า
แฝกที่ชำในกงหรือในแปลง
สำหรับหญ้าแฝกที่แยกหน่อขยายพันธุหลายครั้ง หรือต้นกล้าจาก การเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อ แล้วนำไปปลูกอาจจะพบว่ามีการแตกกอมีลักษณะที่ แผ่ไปกับดินและต้นไม่ตั้งขึ้นสาเหตุนี้
เกิดจากอัตราการเจริญของส่วนรากและ สำต้นไม่ล้มพันธ์กัน เกิดจากการเร่งแยกมากเกินไป ทำให้