Page 3 - การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน











                       ทะเบียนวิจัยเลขที่   63 63 04 12 030000 021 102 01 11
                       ชื่อโครงการ          การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดิน

                                            ของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน
                       กลุ่มชุดดินที่       ดินปากท่อที่เป็นดินร่วนละเอียด (Pth- fl)

                       ผู้ดำเนินการ         นางสาวชนิษฎา  พันธุ์เมิอง    MS.Chanissda Phunmuang
                                            นายดานิเอล  มูลอย            Mr. Daniel  Muloi

                                            นายสุทธิพงศ์  วทานียเวช       Mr.  Sutthipong  Wathaneeyawech
                                            นางพัชรีภรณ์  ดีมุกข์ดา      Mrs.Patchareeporn  Deemukda

                                            นางสาวกมลวรรณ ทองอ่อน      MS.Kamonwan  Tongon

                                                            บทคัดย่อ


                              การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของ
                       มูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน  ตำบลเนินขี้เหล็ก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์  ดำเนินการ

                       ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2562 ถึงเดือน กันยายน 2563 เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลทางวิชาการที่สำคัญทาง
                       กายภาพและทางเคมีของดินจากการพัฒนาที่ดิน และอัตราการรอดตาย การเจริญเติบโต รวมถึงมวล
                       ชีวภาพของหญ้าแฝกสายพันธุ์สงขลา 3 ที่นำมาปลูกในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินโดยใช้วิธีวาง

                       แผนการทดลอง แผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ ( RCBD)  4 วิธีการ 5 ซ้ำ ได้แก่ วิธีการที่ 1
                       วิธีควบคุม (Control) ไม่ใส่ปุ๋ยหมัก ไม่ใส่โพลิเมอร์ วิธีการที่ 2 ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตัน

                       ต่อไร่ (ตามคำแนะนำการปรับปรุงดินเพื่อปลูกพืชไร่โดยปุ๋ยหมักซุปเปอร์ พด.1 ของกรมพัฒนาที่ดิน)
                       วิธีการที่ 3 ใส่โพลิเมอร์อัตรา 0.5 ลิตร ต่อแถวหญ้าแฝก 10 เมตร วิธีการที่ 4 ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ย

                       หมักร่วมกับโพลิเมอร์ โดยใช้ปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1 ตันต่อไร่ และใส่โพลิเมอร์อัตรา 0.25 ลิตร ต่อแถว
                       หญ้าแฝก 10 เมตร จากการศึกษาทดลองสามารถสรุปผลได้ดังนี้วิธีการที่ 4 มีอัตราการรอดตายของ

                       หญ้าแฝกสูงสุดและมีอัตราการแตกกอเดือนที่ 7 สูงที่สุด อัตราการแตกหน่อของหญ้าแฝกสายพันธุ์
                       สงขลา 3 ที่ปลูกโดยมีการปรับปรุงดิน มีแนวโน้มการแตกกอสูงกว่าวิธีที่ไม่ได้ทำอะไรเลย  การใส่ปุ๋ย
                       หมัก และการใส่โพลิเมอร์รองก้นหลุมมีผลช่วยให้มวลชีวภาพของหญ้าแฝกเพิ่มขึ้น
   1   2   3   4   5   6   7   8