Page 9 - การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                        7


                       ลักษณะการห่อตัวของรวงที่มีการ รัดตัวเป็นก้อนรูปกระสวย ถ้าเก็บเมล็ดโดยการรูดจากรวงในช่วงนี้

                       นำมาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ จะพบว่า มีเปอร์เซ็นต์การงอกได้เกินกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อทิ้ง
                       ไว้เพียง 3 วันจะลดลงเหลือประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ และถ้าทิ้งไว้ 7 วัน เปอร์เซ็นต์การงอกจะเหลือ

                       ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือได้ว่าหญ้าแฝกมีอัตราการงอกที่ต่ำมาก ต้นอ่อนของหญ้าแฝกจะมีการ
                       เจริญเติบโตเช่นเดียวกับหญ้าแฝกทั่วไป เมื่อรากแทงออกจากเมล็ดแล้ว จะมีใบเลี้ยงงอกออกมา ด้น

                       อ่อนจะเจริญยืด ตัวอย่างรวดเร็ว ตั้งตัวได้สูงประมาณ 2 เซนติเมตร ภายใน 3 วัน และจะเริ่ม มีใบแท้

                       สีเขียวและมีหนามบนขอบใบปรากฏให้เห็นชัดเจนในช่วงสัปดาห์แรก ในสภาพธรรมชาติเมล็ดหญ้า
                       แฝกจะแก่คารวง และหลุดร่วงไป โดยที่ ส่วนใหญ่ได้สูญเสียความสามารถในการงอกไปแล้ว เมล็ด

                       ส่วนที่เหลืออยู่ก็จะแทบไม่มีโอกาสที่จะงอกได้ นอกจากจะตกลงไปในสภาพแวดล้อมที่เหมาะ สมใน
                       บันที เมล็ดหญ้าแฝกมีความไวในการตอบสนองต่อปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เมื่อประสบกับสภาพความ

                       แห้งแล้ง ลมแรง และแดดจัด แม้เพียงช่วงระยะ เวลาสั้นๆความสามารถในการงอกของเมล็ดลดลงได้

                       ง่าย แต่ในบางครั้งอาจ พบว่ามีการงอกของเมล็ด เนื่องจากในช่วงที่เมล็ดแก่อาจมีสภาพแวดล้อมที่
                       เหมาะสม ซึ่งกล้าหญ้าแฝกก็จะขึ้นอยู่ใกล้กับกอหญ้าแฝกเก่านั่นเอง อย่างไร ก็ตามกล้าหญ้าแฝกอ่อน

                       ที่ขึ้นมาก็สามารถกำจัดได้ง่ายโดยการใช้จอบถางออก การแพร่กระจายจึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาเมื่อ
                       เปรียบเทียบกับหญ้าคาหรือ วัชพืชชนิดอื่น



                              1.3 สมบัติที่ดีของหญ้าแฝก
                                     1.3.1 หญ้าแฝกมีการแตกหน่อ เป็นกอ เบียดกันแน่น กอมีความแข็งแรง ตั้งตรง

                       และไม่แผ่ขยายด้านข้างรบกวนพืชอื่น แผ่ขยายโดยรอบกอเพียง 50 เซนติเมตร จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อ
                       พืชที่ปลูกข้างเคียงสามารถปลูกติดต่อกันเป็นแนวยาวเหมือนรั้ว หรือ “กําแพงธรรมชาติที่มีชีวิต” ซึ่ง

                       จะช่วยกักเก็บตะกอนที่ถูกน้ำพัดพามาให้ติดอยู่กับแถวหญ้าแฝก รวมทั้งชะลอความเร็วของน้ำทำให้

                       น้ำซึมลงใต้ดินได้มากขึ้น
                                     1.3.2 หญ้าแฝกเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แต่อายุยืน อยู่ได้หลายปี เพราะมีการแตกหน่อ

                       ใหม่ และไม่ต้องดูแลมาก
                                     1.3.3 หญ้าแฝกมีข้อที่ลำด้นถี่ สามารถขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี

                                     1.3.4 หญ้าแฝกส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุด้วยเมล็ด ทำให้สามารถควบคุมการ

                       แพร่กระจายได้
                                     1.3.5 หญ้าแฝกมีใบยาว เมื่อตัดสามารถแตกใหม่ได้ง่าย ใบคม แข็งแรง และ

                       ทนทานต่อการย่อยสลาย สามารถนําไปคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นรอบต้นไม้หรือแปลงผักได้ดี
                                     1.3.6 หญ้าแฝกมีระบบรากยาวและแตกแขนงเป็นรากฝอยจำนวนมาก หยั่งลึกลง

                       ไปในดินเป็นแนวดิ่ง ประสานกันอย่างหนาแน่นช่วยยึดดิน ป้องกันการพังทลายของดินและรากมี
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14