Page 11 - การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                        9


                              1.4 สายพันธุ์หญ้าแฝกที่พบในประเทศไทย

                              หญ้าแฝกที่พบและมีการรายงานไว้ทั้งหมด 12 ชนิด แต่พบในประเทศไทยเพียง 2 ชนิด คือ
                       หญ้าแฝกหอม Vetiveria zizanioides  Nash (หญ้าแฝกลุ่ม) และหญ้าแฝกดอน Vetiveria

                       nemoralis  Camus (วีระชัย, 2535)

                                     1.4.1 สายพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม (หญ้าแฝกหอม)

                                     สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี กระจายอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ เป็นพืชที่
                       ผสมข้ามต้น ทำให้มีความหลากหลายทางพันธุกรรม หญ้าแฝกหอมมีใบยาว 45-90 เซนติเมตร กว้าง

                       0.6-0.9 เซนติเมตร หลังใบโค้ง ปลายใบแบนสีเขียวเข้ม เนื้อใบค่อนข้างเนียนมีไขเคลือบมากทำให้ดู

                       มัน ท้องใบออกสีขาวซีดกว่าด้านหลังใบ เมื่อนำมาส่องดูกับแดดจะเห็นรอยกั้นขวางในเนื้อใบค่อนข้าง
                       ชัดเจน โดยเฉพาะพื้นใบบริเวณส่วนโคนและกลางใบ รากจะมีกลิ่นหอมสามารถนำมาสกัดน้ำมันหอม

                       ระเหยได้ หญ้าแฝกหอมที่มีอายุประมาณ 1 ปี จะมีรากหยั่งลึกได้มากกว่า 1 เมตร (กรมพัฒนาที่ดิน,
                       2541) แหล่งพันธุ์หญ้าแฝกลุ่มที่พบในประเทศไทยตามทะเบียนของกรมพัฒนาที่ดิน มีทั้งหมด 11

                       พันธุ์ คือ พันธุ์กำแพงเพชร 2 เชียงราย สงขลา 1 สงขลา 2 สงขลา 3 สุราษฎร์ธานี ตรัง 1 ตรัง 2 ศรี
                       ลังกา เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน


                                     1.4.2 หญ้าแฝกดอน
                                     มีการกระจายพันธุ์อยู่ในวงแคบ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ประเทศไทย

                       ลาว เขมร เวียดนาม และมาเลเซีย เท่านั้น สามารถขึ้นได้ในสภาพแสงแดดปานกลางและแดดจัด

                       หญ้าแฝกดอนมีใบยาว 35-60 เซนติเมตร กว้าง  0.4-0.6 เซนติเมตร ใบสีเขียวซีด หลังใบพับเป็นสัน
                       สามเหลี่ยม เนื้อใบหยาบและสาก มีไขเคลือบน้อย ทำให้ดูกร้านไม่เหลือบมัน ท้องใบออกสีซีดกว่า

                       ด้านหลังใบเล็กน้อย แผ่นใบเมื่อส่องแดดไม่เห็นรอยกั้นในเนื้อใบเส้นกลางใบ สังเกตได้ชัดเจนมี

                       ลักษณะแข็งเป็นแกนนูนทางด้านหลัง ช่อดอกจะมีได้หลายสี  คือสีขาวครีมถึงสีม่วงอมแดง ขึ้นอยู่กับ
                       แหล่งพันธุ์ โดยทั่วไปหญ้าแฝกดอนที่มีอายุประมาณ 1 ปี จะมีรากหยั่งลึกได้ประมาณ 80-100

                       เซนติเมตร  พันธุ์หญ้าแฝกดอนที่พบในประเทศไทยตามทะเบียนของกรมพัฒนาที่ดิน  มี 17 แหล่ง
                       พันธุ์ คือ พันธุ์อุดรธานี 1  อุดรธานี 2  นครพนม 1  นครพนม 2  ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ  เลย  สระบุรี 1

                       สระบุรี 2  ห้วยขาแข้ง  กาญจนบุรี  นครสวรรค์  ประจวบคีรีขันธ์  ราชบุรี จันทบุรี  พิษณุโลก  และ
                       กำแพงเพชร 1 (กรมพัฒนาที่ดิน, 2541)
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16