Page 26 - การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน
P. 26
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
1.2.1 ข้อมูลดินในดินพื้นแปลงวิจัยทดสอบ
จากการสำรวจและจำแนกดินระดับละเอียด พบว่า ดินในในพื้นที่แปลงวิจัยทดสอบ
เป็นดินคล้าย (soil variant) คือ ดินปากท่อที่เป็นดินร่วนละเอียด (Pak Tho fine-loamy variant :
Pth- fl)
การจำแนกดิน : Fine-loamy, kaolinitic, isohyperthermic Plinthic Paleaquults วัตถุ
ต้นกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำการระบายน้ำค่อนข้างเลว การซึมผ่านได้ของน้ำช้าถึงปานกลาง
ลักษณะสมบัติของดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายสีน้ำตาลหรือสีเทา สีเทา
อมชมพู พบจุดประสีน้ำตาลเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง (pH 5.2-5.6) ดินล่างมีเนื้อ
ดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายถึงดินเหนียว สีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา พบจุดประสีน้ำตาลปนเหลือง
หรือสีแดง มีลักษณะเป็นศิลาแลงอ่อนและปริมาณมากกว่า 5-50 เปอร์เซ็นต์ ภายในความลึก 150
เซนติเมตร จากผิวดิน อาจพบมวลก้อนกลม (nodules) ของแมงกานิส ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึง
เป็นกรดปานกลาง (pH 5.2-5.9)
ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำถึงปานกลาง การระบายน้ำ
ค่อนข้างเลวน้ำท่วมขังในฤดูฝนนาน 3-4 สัปดาห์
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนาควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีในอัตราและระยะเวลา
ที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตและบำรุงรักษาดิน สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำชลประทานหรือมีแหล่งน้ำ
ธรรมชาติ สามารถใช้ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล หรือปลูกพืชไร่และพืชผักได้ตลอดทั้งปี แต่จะต้องทำคันดิน
ล้อมรอบพื้นที่เพาะปลูกและยกร่องปลูก เพื่อช่วยการระบายน้ำของดิน
ดินปากท่อที่เป็นดินร่วนละเอียด มีเนื้อที่ประมาณ 64 ไร่ หรือร้อยละ 90.16 ของพื้นที่
โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน ตำบลเนินขี้เหล็ก อำเภอลาดยาว จังหวัด
นครสวรรค์
ตารางที่ 4 คุณสมบัติทางเคมีดิน
ความลึก อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็น โพแทสเซียมที่ ความอุดม
(ซม.) ประโยชน์ เป็นประโยชน์ สมบูรณ์ของดิน
0-25 ต่ำ ต่ำ ปานกลาง ต่ำ-ปานกลาง
25-50 ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง ต่ำ-ปานกลาง
50-100 ต่ำมาก ต่ำมาก สูงมาก ปานกลาง
ที่มา : กลุ่มวิเคราะห์ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 9