Page 29 - การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน
P. 29
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
27
ตารางที่ 5 แสดงผลวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีบางประการของดินก่อนและหลังการทดลอง
ตำรับ
การทดลอง pH %OM P (mg/kg) K (mg/kg)
ก่อน 8.7 0.3 5 73
การทดลอง
หลังการทดลอง
b
c
b
1 8.4 0.16 3 72
a
a
a
2 8.7 0.30 79 68
a
3 8.7 0.14 2 57
b
c
ab
b
a
4 8.6 0.34 49 69
F-test * ** ** ns
C.V. (%) 2.95 26.91 16.02 16.68
หมายเหตุ ns ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
* แตกต่างกันทางสถิติที่ p <0.05
** แตกต่างกันทางสถิติที่ p <0.01
ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันแสดงถึงความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ
ความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี Duncan’s Multiple Range Test (DMRT)
3.อัตราการรอดตายของหญ้าแฝก
การปลูกหญ้าแฝกสายพันธุ์สงขลา 3 โดยใช้กล้าแบบเปลือยราก ปลูกตามวิธีการทดสอบเพื่อศึกษา
ข้อมูลอัตราการรอดตายหญ้าแฝกพันธุ์สงขลา 3 ที่นำมาปลูกในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัย
พัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน ซึ่งสภาพดินในพื้นที่ดำเนิน งานนั้นเป็นดินถม ได้ผลเป็นอัตราการรอดตายของหญ้า
แฝกที่ไม่ได้ปรับปรุงดิน ไม่ใช้สารโพลิเมอร์ และการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก การใช้สารโพลิเมอร์อัตราต่างๆ
ตามวิธีการทดลอง พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย อัตราการรอดตายของหญ้าแฝก
สายพันธุ์สงขลา 3 ที่ปลูกโดยมีการปรับปรุงดินมีแนวโน้มอัตราการรอดตายสูงกว่าวิธีที่ไม่ได้ทำอะไรเลย
ดังนี้ ตำรับการทดลองที่ 4 วิธีการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักร่วมกับโพลิเมอร์ โดยใช้ปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1 ตัน
ต่อไร่ และใส่โพลิเมอร์อัตรา 0.25 ลิตร ต่อแถวหญ้าแฝก 10 เมตร (ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร) มีอัตรา
การรอดตายของหญ้าแฝกสูงสุด 77.62 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ตำรับการทดลองที่ 2 3 และ ท้ายสุดตำรับ
การทดลองที่ 1 โดยมีอัตราการรอดตายของหญ้าแฝกเฉลี่ย เท่ากับ 75.34 71.70 และ 66.38 เปอร์เซ็นต์
ตามลำดับ (ตารางที่ 6)