Page 28 - การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                       26


                              2.1 ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง

                                     หลังการทดลอง พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความเป็นกรด
                       เป็นด่างของดินอยู่ในพิสัยช่วง 8.4-8.7 ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลางถึงด่างจัด โดยตำรับการทดลอง

                       ที่ 2 ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ (ตามคำแนะนำการปรับปรุงดินเพื่อปลูกพืชไร่โดยปุ๋ย
                       หมักซุปเปอร์ พด.1 ของกรมพัฒนาที่ดิน) และตำรับการทดลองที่ 4  ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักร่วมกับ

                       โพลิเมอร์ โดยใช้ปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1 ตันต่อไร่ และใส่โพลิเมอร์อัตรา 0.25 ลิตร ต่อแถวหญ้าแฝก 10

                       เมตร มีปฏิกิริยาดินสูงสุด 8.7 จัดเป็นด่างจัด  (ตารางที่ 4)
                              2.2 ปริมาณอินทรียวัตถุ

                                     หลังการทดลอง พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณ
                       อินทรียวัตถุอยู่ในพิสัยร้อยละ 0.14-0.34 ในระดับต่ำมาก ตำรับการทดลองที่ 4 ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ย

                       หมักร่วมกับโพลิเมอร์ โดยใช้ปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1 ตันต่อไร่ และใส่โพลิเมอร์อัตรา 0.25 ลิตร ต่อแถว

                       หญ้าแฝก 10 เมตร ปริมาณอินทรียวัตถุสูงสุดเท่ากับ ร้อยละ 0.34 จัดอยู่ในระดับต่ำมาก รองลงมา
                       ตำรับการทดลองที่ 2 ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ มีปริมาณอินทรียวัตถุกับ ร้อยละ

                       0.30 จัดอยู่ในระดับต่ำมาก (ตารางที่ 4)

                              2.3 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์

                                     หลังการทดลอง พบว่า ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีความแตกต่างกันอย่าง
                       มีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยมีค่าอยู่ในพิสัย 3-79 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับต่ำถึงสูงมาก

                       โดยวิธีการที่ 2 การปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์

                       มากสุดเท่ากับ 79  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาคือ ตำรับที่ 4 1 และ3 โดยมีปริมาณฟอสฟอรัสที่
                       เป็นประโยชน์เท่ากับ 49 2 และ 1ตามลำดับ ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการใส่ปุ๋ยหมักในการปรับปรุงดิน

                       (ตารางที่ 4)

                              2.4 ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้

                                     หลังการทดลอง พบว่า ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มีแนวโน้มลดลงทุก
                       ตำรับการทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยมีค่าอยู่ในพิสัย 57-72

                       มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง  โดยวิธีการที่ 1 วิธีควบคุม (Control) ไม่ใส่ปุ๋ย
                       หมัก ไม่ใส่โพลิเมอร์ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนมากสุดเท่ากับ 72  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                       รองลงมาคือ ตำรับที่ 4  2 และ3 โดยมีปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนเท่ากับ 69 68  และ 57

                       ตามลำดับ  (ตารางที่ 4)
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33