Page 21 - การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                       19


                       ดอนอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะเมื่อมีอายุถึง 6 เดือนไปแล้ว ด้านมวลชีวภาพ เปรียบเทียบน้ำหนักรวม

                       ของส่วนที่อยู่เหนือดิน คือ ต้น และใบกับส่วนที่อยู่ใต้ดิน คือ ราก พบว่า กลุ่มหญ้าแฝกดอนสายพันธุ์
                       ร้อยเอ็ด จะได้น้ำหนักมวลชีวภาพดีที่สุด ส่วนกลุ่ม่หญ้าแฝกลุ่ม พันธุ์สงขลา 3 ให้น้ำหนักมวลชีวภาพ

                       มากที่สุด รองลงไปคือพันธุ์สุราษฏร์ธานี และทั้ง 2 สายพันธุ์ ให้น้ำหนักมวลชีวภาพมากกว่ากลุ่มหญ้า
                       แฝกดอนอย่างเด่นชัด และพันธุ์หญ้าแฝกที่น่าจะเหมาะสมกับชุดดินมาบบอนในกลุ่มหญ้าแฝกดอน

                       ได้แก่ กำแพงเพชร 1 และร้อยเอ็ด ส่วนในกลุ่มหญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ สงขลา 3 และสุราษฎร์ธานี

                              วิมลนันทน์และคณะ (2557) ได้ทำการศึกษาผลของการใช้หญ้าแฝกในระบบการปลูกพืช
                       ร่วมต่อสมบัติทางกายภาพและเคมีบางประการของดินลูกรัง โดยทำการปลูกหญ้าแฝกร่วมกับ

                       ข้าวโพดหวาน พบว่า การปลูกหญ้าแฝกพันธุ์สงขลา 3 สลับกับข้าวโพดหวาน 2 มีแนวโน้มทำให้
                       สมบัติทางกายภาพและเคมีบางประการของดินดีขึ้น คือ ปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้นถึง 49 เท่า

                       สัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำเพิ่มขึ้น  5.86 เท่า และปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น

                       1.47 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบไม่ปลูกหญ้าแฝก ทั้งยังสามารถลดความหนาแน่นรวมถึง 1.20 เท่า
                       จึงสรุปได้ว่า หญ้าแฝกช่วยให้ดินมีความชื้นและปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นรวม

                       ของดินลดลง ส่งผลสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำเพิ่มขึ้น





                                                  ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน


                       ระยะเวลาดำเนินการ           เริ่มต้น มีนาคม พ.ศ.2563

                                                   สิ้นสุด มีนาคม พ.ศ. 2564


                       สถานที่ดำเนินการ            ในพื้นที่ โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน

                                                   ตำบลเนินขี้เหล็ก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์


                       พิกัดแปลง                   P 47 E 597030 N 1751997
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26