Page 23 - การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                       21


                                            2) วิธีการที่ 2 ปลูกหญ้าแฝกสายพันธุ์สงขลา 3 ด้วยหญ้าแฝกแบบเปลือย

                       ราก ด้วยระยะแถว 50 เซนติเมตร ระยะต้น 50 เซนติเมตร ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่
                       เมตร

                                            3) วิธีการที่ 3 ปลูกหญ้าแฝกสายพันธุ์สงขลา 3 ด้วยหญ้าแฝกแบบเปลือย
                       ราก ด้วยระยะแถว 50 เซนติเมตร ระยะต้น 50 เซนติเมตร ใส่โพลิเมอร์อัตรา 0.5 ลิตร ต่อแถวหญ้า

                       แฝก 10 เมตร (รองก้นหลุมๆละ 2 ช้อนโต๊ะ)

                                            4) วิธีการที่ 4 ปลูกหญ้าแฝกสายพันธุ์สงขลา 3 ด้วยหญ้าแฝกแบบเปลือย
                       ราก ด้วยระยะแถว 50 เซนติเมตร ระยะต้น 50 เซนติเมตร ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่

                       เมตร ร่วมกับใส่โพลิเมอร์อัตรา 0.25 ลิตร ต่อแถวหญ้าแฝก 10 เมตร (รองก้นหลุมๆละ 1 ช้อนโต๊ะ)
                                     3.1.6 ดูแลรักษา และเก็บข้อมูลเป็นเวลาทั้งสิ้น 4 เดือน เก็บต้นแฝกเพื่อชั่งน้ำหนัก

                       สดและน้ำหนักแห้งตั้งแต่เดือนที่ 1 ถึงเดือนที่ 4 เดือนละ 5 ต้นในแต่ละวิธีการ วัดการเจริญเติบโต

                       ของต้นหญ้าแฝกทุกๆ 14 วัน
                              3.2 การเก็บข้อมูล

                                     3.2.1 ข้อมูลดิน
                                            1) เก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง ที่ระดับความลึก

                       0-15 เซนติเมตร เพื่อวิเคราะห์หาคุณสมบัติทางเคมีดิน (หาค่า pH, OM, P และ K)

                                            2) เก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง แบบแบบไม่
                       รบกวนโครงสร้าง (core sampling) เพื่อวิเคราะห์หาคุณสมบัติทางกายภาพของดิน

                                     3.2.2 ข้อมูลพืช
                                            1) บันทึกข้อมูลการรอดตายของหญ้าแฝก หลังจากปลูก 1 เดือน และ

                       คำนวณอัตราการรอดตาย

                                               อัตราการรอดตาย (เปอร์เซ็นต์) = จำนวนต้นรอดตาย x 100/จำนวน
                       กล้าปลูก

                                            2) ข้อมูลการเจริญเติบโตโดยวัดความสูงหญ้าแฝก และการแตกกอของ
                       หญ้าแฝก ที่อายุ 5 เดือน และ 7 เดือน

                                     3.2.3 เก็บข้อมูลมวลชีวภาพของหญ้าแฝก โดยตัดส่วนเหนือดินทั้งหมดและนำมาชั่ง

                       หาน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของต้นหญ้าแฝก ที่อายุ 5 เดือน และ 7 เดือน
                              3.3 วิเคราะห์ความแตกต่างของตำรับทดลองด้วยโดยใช้ ANOVA และเปรียบเทียบความ

                       แตกต่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ Duncan multiple range test (DMRT)
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28