Page 20 - การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                       18


                       3.การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้หญ้าแฝกปรับปรุงดิน

                              กมลพรรณและคณะ (2541) รายงานว่า การปลูกหญ้าแฝกมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้ในการ
                       อนุรักษ์ดินและน้ำ โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ลาดชัน ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระ

                       เจ้าอยู่หัว แต่การปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ หรือการปลูกในพื้นที่เกษตรในลักษณะต่าง ๆ นั้น เป็น
                       การใช้ประโยชน์ในแง่ของการอนุรักษ์ ซึ่งมีคุณค่าที่ไม่สามารถประเมินราคาเป็นตัวเงินให้เกษตรกร

                       เห็นได้ จึงเป็นสาเหตุให้เกษตรกรบางส่วนยังไม่ยอมรับหญ้าแฝก อย่างเช่น การใช้ประโยชน์จากต้น

                       และใบหญ้าแฝกเพื่อทำปุ๋ยหมักและพืชคลุมดิน จากส่วนของต้นและใบหญ้าแฝกที่ถูกตัด เพื่อให้ต้น
                       แตกกอเจริญเติบโตได้ดี หรือตัดเพื่อควบคุมไม่ให้ออกดอก ต้นและใบที่ถูกตัดสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ย

                       หมักได้ ในเวลา 60 – 120 วัน ต้นและใบแฝกจะย่อยสลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างสมบูรณ์ ซึ่งคำนวณได้ว่า
                       ปุ๋ยหมักจากใบหญ้าแฝก 1 ตัน เทียบเท่ากับแอมโมเนียมซัลเฟต ได้ 43  กิโลกรัม นอกจากนี้

                       คณะอนุกรรมการด้านวิชาการ (2541) รายงานว่าการปลูกแถบหญ้าแฝกขวางความลาดชันและมีการ

                       ตัดแต่งเป็นครั้งคราว ในแปลงปลูกพืชล้มลุกจะช่วยดักตะกอนดิน อินทรียวัตถุและชะลอการไหลของ
                       น้ำ รากหญ้าแฝกจะเสริมความแข็งแรงของดินเรื่อย ๆ

                              สุเมธ วัฒนธรรม และ ปรีชา โพธิ์ปาน ได้การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโต ระบบราก
                       และมวลชีวภาพของหญ้าแฝกชนิดต่าง ๆ ในชุดดินมาบบอน (กลุ่มชุดดิน 35)  โดยทำการศึกษาใน

                       พื้นที่ลาดเชิงเนินมีน้ำแช่ขังในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในบริเวณแปลงทดลอง งานพัฒนาที่ดิน ศูนย์ศึกษา

                       การพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้
                       กล้าหญ้าแฝก จำนวน 10 สายพันธุ์ ได้แก่ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria niemoralis) 6 สายพันธุ์ คือ

                       สายพันธุ์เลย นครสวรรค์ กำแพงเพชร 1 ร้อยเอ็ด ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ หญ้าแฝกลุ่ม
                       (Vetiveria zizanioides) 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ศรีลังกา กำแพงเพชร 2 สุราษฎร์ธานี และสงขลา

                       3 ปลูกหญ้าแฝกแต่ละชนิดสายพันธุ์ตามตำรับการทดลองที่สุ่มไว้ ปลูกเป็นแถวโดยมีระยะระหว่างต้น

                       10 เซนติเมตร แถวละ 5 สายพันธุ์ มีจำนวน 2 แถว โดยมีระยะห่างระหว่างแถว 1 เมตร วัดการ
                       เจริญเติบโต ความสูง จำนวนหน่อต่อกอและเส้นผ่าศูนย์กลางกอทุกกระยะ 3 เดือน จนถึงอายุ 18

                       เดือน ผลการเจริญเติบโตหญ้าแฝกดอนสายพันธุ์เลยมีการเจริญเติบโตได้รวดเร็ว เบียดชิดกันได้
                       หนาแน่นก่อนสายพันธุ์หญ้าแฝกดอนอื่น ๆ ตั้งแต่ระยะ 6 เดือน แต่ที่ระยะ 12 เดือนจนถึง 18 เดือน

                       สายพันธุ์ร้อยเอ็ดจะมีการแตกกอที่ดีกว่า มีเส้นผ่าศูนย์กลางกอมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ส่วนหญ้าแฝก

                       ลุ่มนั้นสายพันธุ์กำแพงเพชร 2 มีการแตกกอและแผ่กระจายได้รวดเร็วในระระ 6 เดือนแรก แต่เมื่อ
                       ระยะ 12 เดือน เป็นต้นไป สายพันธุ์สงขลา 3 จะมีการแตกกอ และมีการแผ่กระจายได้ดีกว่าพันธุ์อื่น

                       ด้านระบบรากของหญ้าแฝก สายพันธุ์แฝกดอน มีพันธุ์นครสวรรค์และประจวบคีรีขันธ์ มีการ
                       แพร่กระจายความกว้างของรากดี โดยเฉพาะสายพันธุ์นครสวรรค์ ยังมีความหยั่งลึกมากกว่าพันธุ์อื่น

                       กลุ่มหญ้าแฝกลุ่มพันธุ์สงขลา 3 มีระบบรากดีที่สุดมกากว่าพันธุ์อื่น ๆ และดีกว่ากลุ่มพันธุ์หญ้าแฝก
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25