Page 19 - การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
17
สามารถลดระดับน้ำใต้ดิน เช่น การปลูกในสวนมังคุดที่น้ำท่วมขังชั่วคราวจะลดการเกิดโรคยางไหล
เป็นต้น และควรใช้หญ้าแฝกลุ่ม
2.3.3 การปลูกหญ้าแฝกควบคุม ระดับน้ำในดินบนพื้นที่ทั้งผืน ทำได้โดยปลูกหญ้า
แฝกแบบดำนาข้าว ระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว 50 X 50 เซนติเมตรควรใช้หญ้าแฝกลุ่ม
3. โพลิเมอร์
โพลิเมอร์ หรือสารอุ้มน้ำ เป็นสารประเภทแป้งชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างซับซ้อน เป็น
คาร์โบไฮเดรตขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสังเคราะห์ขึ้นทางเคมี เป็นโพลิเมอร์แซทคาไรด์ที่เรียกว่า
ครอส-ลิงค์ โพลีแอคริลาหมีด โคโพลีเมอร์ (Cross-linked polyacrylamide copolymer) มี 2
กลุ่มใหญ่ๆ คือ โพลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ (water soluble polymer) และโพลิเมอร์ที่มี
คุณสมบัติไม่ละลายน้ำ (water insoluble polymer) โพลิเมอร์ที่อยู่ในกลุ่มไม่ละลายน้ำ มีคุณสมบัติ
ดูดซับน้ำได้ในปริมาณที่มาก เนื่องจากมีสาร cross linker ก่อโยงใยเชื่อมขวาง (crosslinking)
ระหว่างโพลิเมอร์ที่มีโครงสร้างโมเลกุลเชิงเส้นตรง (linear polymer) ทำให้เกิดโพรงช่องว่าง
(cavity) ในระหว่างโมเลกุลเส้นขนานที่สามารถดูดน้ำเข้าไปเก็บกักไว้ในปริมาณมากได้ (ปิยะ. 2537)
ลักษณะสำคัญของโพลิเมอร์ คือ เมื่อดูดซับน้ำเข้าไปจะมีลักษณะแบบวุ้น จึงช่วยในการอุ้ม
น้ำได้ 300-500 เท่า ของน้ำหนักแห้ง นั่นคือ โพลิเมอร์แห้ง 1 กรัม จะดูดน้ำได้ถึงประมาณ 500
ลูกบาศก์เซนติเมตร เมื่อให้เวลามากพอ โดยโพลิเมอร์มีแรงยึดน้ำที่อุ้มน้ำได้ต่ำกว่าแรงดุงของรากพืช
รากสามารถแทงทะลุเข้าไปในโพลิเมอร์เปียกได้ง่าย โพลิเมอร์เมื่อถูกดูดน้ำออกไปเรื่อย ๆ จะแข็งลง
จนยุบเหลือขนาดเล็ก แต่เมื่อลดน้ำลงบนโพลิเมอร์ใหม่จะกลับอุ้มน้ำใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ในสภาพน้ำ
กระด้างมาก ความสามารถในการพองตัวของโพลิเมอร์จะน้อยลง และจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อ
น้ำสภาพเป็นกลาง โพลิเมอร์จะค่อยๆสลายตัวในดินชื้น โดยจุลินทรีย์รา และแบคทีเรียทั่ว ๆไป การ
ใช้เศษพืชและมูลสัตว์ร่วมกับโพลิเมอร์จะทำให้ย่อยสลายได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งโพลิเมอร์เมื่อผสมในกินปลูก
พืชน่าจะมีปัญหาน้อยในการสลายตัว เพราะสารเคมี เช่น ปุ๋ยต่าง ๆ โดยทั่งไปจะใช้ในปริมาณน้อย
และปุ๋ยอินทรีย์ก็ไม่มีบทบาทในการสลายโพลิเมอร์อยู่แล้ว การใช้โพลิเมอร์โดยทั่วไปจะคงสภาพอยู่
ในดินได้มากกว่า 1 ปี
สารโพลิเมอร์ผลิตจากสารหลายชนิด เช่น แป้งข้าวโพด แป้งข้าวสาลี แป้งข้าวโอ๊ด แป้งมัน
สำปะหลัง เซลลูโลส และเรซินสังเคราะห์ เป็นต้น วงการเกษตร มีการใช้ประโยชน์โพลิเมอร์กันอย่าง
กว้างขวาง เช่น ในการปลูกป่าใช้โพลิเมอร์ที่แช่น้ำค้างคืน และพองตัวเต็มที่รองก้นหลุมๆละ 1 ลิตร
ทำให้กล้าไม้ป่ารอดตายถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกใหม่ หรือปลูกไปแล้ว จะใช้โพลิเมอร์
5 กรัม หว่านกระจายที่ก้นหลุม หรือใส่บริเวณโคนต้นและกลบดิน หรืออาจใช้โพลิเมอร์เปียก 1-2
ลิตร/หลุมหรือต้น ต้นไม้จะรอดตายเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ (พิพัฒนะ, 2553)