Page 3 - ศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนมาร์ล กรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพเพื่อปั้นเม็ดเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด Study the mixture ratio between marl, silicon and biochar to form pellets for increasing plant growth in acid sulfate soils
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                       ศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนมาร์ล กรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพเพื่อปั้นเม็ดเพื่อใช้
                                           ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด



                                    น.ส. บรรเจิดลักษณ์ จินตฤทธิ์       นายสกล ผ่านเมือง
                           นายศรัณย์นพ อินทเสน นางสาวนิสุดา ทองคำพันธ์ นางสาวสุปราณี ต้นจาน





                                                         บทคัดย่อ


                                ศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนมาร์ล กรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพเพื่อปั้นเม็ดเพื่อใช้ปรับปรุง

               บำรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดดำเนินการที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 ระหว่างปี พ.ศ.2562-2563 ในกลุ่มชุด

               ดินที่ 11 ชุดดินรังสิต โดยวางแผนการทอดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)
               จำนวน 7 วิธีการ 4 ซ้ำ คือ ตำรับทดลองที่ 1 ตำรับควบคุม (Control) ตำรับทดลองที่ 2 ใช้ปูนมาร์ล ตามค่า

               ความต้องการของปูนของดิน ตำรับทดลองที่ 3 ใช้กรดซิลิคอน 100 กก.ต่อไร่ ตำรับทดลองที่ 4 ใช้ถ่านชีวภาพ
               อัตรา 2 ตันต่อไร่ ตำรับทดลองที่ 5 ใช้ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพ ปั้นเม็ดอัตราส่วน 1 : 1 : 1

               ตำรับทดลองที่ 6 ใช้ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพ ปั้นเม็ดอัตราส่วน 1 : 2 : 1 ตำรับทดลองที่ 7

               ใช้ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพ ปั้นเม็ดอัตราส่วน 1 : 1 : 2 ผลการทดลองพบว่า หลังสิ้นสุดการ
               ทดลอง สมบัติของดินมีการเปลี่ยนแปลง โดยในตำรับการทดลองที่ใช้ ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่าน

               ชีวภาพ ถ่านชีวภาพมีค่าพีเอช  (pH) ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน โพแทสเซียมที่สกัด
               ได้ในดิน แคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน และปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มสูงขึ้นทุกตำรับ

               ทดลอง  ค่าความยาวและความกว้างใบพืช (เซนติเมตร) หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดหวาน พบว่า ตำรับ

               การทดลองที่มีการใช้ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพปั้นเม็ดอัตราส่วน 1 : 2 : 1 ให้ค่าความยาวและ
               กว้างของใบพืช ค่าความสูงของต้นข้าวโพดหวานเมื่ออายุ 74 วัน (เซนติเมตร) สูงสุด สำหรับค่าน้ำหนักของฝัก

               ข้าวโพดหวานไม่ปอกเปลือก (กรัม) พบว่า ตำรับการทดลองที่มีการใช้ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่าน

               ชีวภาพปั้นเม็ดอัตราส่วน 1 : 2 : 1 ให้ค่าน้ำหนักของฝักข้าวโพดหวานไม่ปอกเปลือก (กรัม) เช่นกัน อย่างไรก็
               ตาม พบว่า ค่าน้ำหนักของฝักข้าวโพดหวานปอกเปลือก (กรัม) ในตำรับการทดลองที่มีการใช้ปูนมาร์ลผสมกรด

               ซิลิคอนและถ่านชีวภาพปั้นเม็ดอัตราส่วน 1 : 1 : 2  ให้ค่าน้ำหนักของฝักข้าวโพดหวานปอกเปลือก (กรัม)

               มากที่สุดแต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับตำรับการทดลองที่มีการใช้ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพปั้นเม็ด
               อัตราส่วน 1 : 2 : 1 สำหรับ ตำรับควบคุม ให้ค่าความกว้างและยาวของฝักข้าวโพดหวานปอกเปลือก

               (เซนติเมตร) ค่าน้ำหนักของฝักข้าวโพดหวาน (กรัม) ต่ำสุด


               คำสำคัญ:   ปูนมาร์ล กรดซิลิคอน  ถ่านชีวภาพ ดินเปรี้ยวจัด ชุดดินรังสิต







                                                            3
   1   2   3   4   5   6   7   8