Page 19 - ผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปูนโดโลไมท์ต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันในพื้น ที่ดินเปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง Effect of using organic fertilizer together with dolomite for growth on oil plam in acid sulfate soil at Phattalung province
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                      ถาระดับธาตุอาหารในใบสูงกวาคาเบี่ยงเบน 5% จากคาวิกฤติควรลดปุยชนิดที่ใหธาตุอาหารนั้นลงประมาณ
                      20% (ชัยรัตนและจําเปน, 2538)
                                     2.6 การดูแลรักษา
                                      1) การใหน้ํา ปาลมน้ํามันเปนพืชที่ตองการน้ํามากและสม่ําเสมอตลอดชวงการเจริญเติบโต
                      ในสภาพพื้นที่ที่แหงแลงยาวนาน ถามีแหลงน้ําเพียงพอควรมีการใหน้ําเสริมในฤดูแลง ในปริมาณ 150-200

                      ลิตรตอตนตอวัน ควรมีระบบควบคุมน้ําใหพอเพียงตลอดอายุการเจริญเติบโตของปาลมน้ํามันมีระบบการใหน้ํา
                      ที่เหมาะสม เชน ระบบน้ําหยด หรือระบบฉีดน้ําฝอย จะชวยเพิ่มความชื้นในดินใหเหมาะสมตลอดป
                                      2) ตัดแตงทางใบ ตั้งแตเริ่มปลูกจนถึงปที่ 6 ควรไวทางใบ 7-8 รอบ (56-64 ทางใบ) ตนที่
                      โตเต็มที่ควรไวทางใบ 4.5-6.5 รอบ (36-48 ทางใบ) ไมควรตัดแตงทางใบจนกวาจะถึงชวงการเก็บเกี่ยวผลผลิต
                      ควรตัดทางใบใหเหลือรองรับทะลายปาลม 2 ทาง (ชั้นลางจากทะลาย) และทางใบที่ตัดแลว ควรนํามาเรียง
                      กระจายแถวเวนแถว และวางสลับแถวกันทุกๆ 4-5 ป เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุใหกระจายทั่วแปลง การใชทะลาย
                      เปลาคลุมดิน ทะลายเปลาที่นํามาจากโรงงาน ควรนํามากองทิ้งไวประมาณ 1 เดือน แลวจึงนําไปวางกระจายไว
                      รอบโคนตนโดยใสทะลายเปลา อัตรา 150-225 กิโลกรัมตอตนตอป
                                      3) ศัตรูของปาลมน้ํามันและการปองกันกําจัด

                                      โรคที่สําคัญ ไดแก โรคใบไหมในระยะตนกลา หากรุนแรงทําใหตนกลาถึงตายได โรคกาน
                      ทางใบบิด พบในตนปาลมที่มีอายุ 1-3 ป หลังจากนําลงปลูกในแปลง มีผลทําใหการเจริญเติบโตของตนปาลม
                      น้ํามันหยุดชะงัก โรคยอดเนาระบาดมากในฤดูฝนเขาทําลายตนปาลมน้ํามันตั้งแตในระยะกลา แตสวนใหญ
                      มักจะพบโรคนี้กับตนปาลมน้ํามันอายุ 1-3 ป ทําใหใบยอดทั้งใบเนาแหงเปนสีน้ําตาลแดง สามารถดึงหลุด
                      ออกมาไดงาย โรคทะลายเนา ทําลายผลปาลมกอนที่จะสุก ระบาดมากในฤดูฝน ที่มีความชื้นสูงทําให
                      เปอรเซ็นตกรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพการใหน้ํามันนอยลงและโรคลําตนเนา พบมากกับตนปาลม
                      น้ํามันที่มีอายุมาก ปจจุบันพบระบาดมากกับตนปาลมอายุ 10-15 ป

                                      แมลงศัตรูที่สําคัญ ไดแก หนอนหนาแมว ดวงกุหลาบ ดวงแรด
                                      การปองกันกําจัดวัชพืช การควบคุมวัชพืชมีหลายวิธี เชน การใชแรงงาน การใชเครื่องจักร
                      ตัดวัชพืช การใชวัสดุคลุมดิน โดยใชพืชตระกูลถั่ว และการใชสารกําจัดวัชพืช การปลูกแทนใหม
                                    2.6 การเก็บเกี่ยวผลผลิต
                                    การเก็บเกี่ยว ตองเก็บเกี่ยวทะลายปาลมที่สุกพอดี หรือประมาณ 20-22 สัปดาห และสง
                      โรงงานสกัดน้ํามันภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อใหไดน้ํามันปาลมทั้งปริมาณและคุณภาพสูงตอไร ซึ่งการปฏิบัติที่
                      ถูกตองและเหมาะสมจะทําใหไดน้ํามันปาลมที่มีคุณภาพดี
                                    2.7 ลักษณะประจําพันธุของปาลมน้ํามันที่ศึกษา
                                    ปาลมน้ํามันยูนิวานิช เปนปาลมน้ํามันลูกผสมเทเนอรา ระหวางแมพันธุ DELI DURA และ

                      สายพันธุพอยันกัมบี พิสิเฟอรา (Yangambi Pisifera) มีลักษณะสูงเร็ว ลําตนสูงเฉลี่ย 50 – 60 เซนติเมตรตอป
                      กะลาบาง ผลเปนรูปไข และมีลักษณะตางๆ คอยขางสม่ําเสมอ ทนแลงปานกลาง ทางใบยาว 6 – 8 เมตร
                      ระยะปลูก 9 x 9 x 9 เมตร จํานวน 22 ตนตอไร อายุการเก็บเกี่ยว มากกวา 25 ป ผลดิบสีดํา ผลสุกสีแดง
                      ศักยภาพการใหผลผลิต 4 – 5.5 ตันตอไรตอป จํานวนทะลาย 16 – 24 ทะลายตอป  น้ําหนักทะลายเฉลี่ย
                      20 – 30 กิโลกรัม ใหเปอรเซ็นตน้ํามันสูง 28 – 30 เปอรเซ็นต (บริษัท ยูนิวานิช, 2548)
                                 3. ผลิตภัณฑเทคโนโลยีชีวภาพกรมพัฒนาที่ดิน

                                    3.1 น้ําหมักชีวภาพ พด.2 หมายถึง ปุยอินทรียในรูปของเหลวซึ่งไดจากการนําการวัสดุเหลือ
                      จากพืชหรือสัตวซึ่งมีลักษณะสดหรือมีความชื้นสูงในลักษณะเปนของเหลวและอาศัยกิจกรรมของจุลินทรียทั้งใน
                      สภาพที่มีออกซิเจนและไมมีออกซิเจน ทําใหไดฮอรโมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เชน Auxin
                      Gibberellin Cytokinin รวมทั้งกรดอินทรียเชน กรดแลคติค,กรดอะซิติค,กรดอะมิโนและกรดฮิวมิก สามารถ


                                                                                                         10
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24