Page 14 - ผลของโดโลไมท์ ปุ๋ยอินทรีย์ และไตรโคเดอร์มาต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตของพริกไทย Effects of dolomite, organic fertilizers and Trichaderma spp. On soil fertility and pepper yield were investigated
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                       14


                   2.2 ปริมาณคลอโรฟิลล์
                          จากการวิเคราะห์ปริมาณคลอโรฟิลล์ในต้นพริกไทย โดยคำนวณค่าเฉลี่ยระยะเวลา 3 เดือนเป็น 1

                   ครั้ง พบว่า การปรับปรุงดินกรดด้วยโดโลไมท์ในทุกวิธีการ ยกเว้นแปลงควบคุม ร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมัก เชื้อ
                   ไตรโครเดอร์มา สารเร่งซุปเปอร์พด.3 และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ในรูปแบบต่างๆ ไม่มีผลทำให้ปริมาณ
                   คลอโรฟิลล์ของต้นพริกไทยแตกต่างกันทางสถิติ โดยปริมาณคลอโรฟิลล์มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
                          ครั้งที่ 1 พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันระหว่าง 59.1-63 SPAD unit โดยการ

                   ใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ร่วมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณ
                   คลอโรฟิลล์เฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 63 SPAD unit ขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณ
                   คลอโรฟิลล์เฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 59.1 SPAD unit (ตารางที่ 2.2)
                          ครั้งที่ 2 พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันระหว่าง 50.4-58.7 SPAD unit โดยการ

                   ใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ร่วมกับไตรโคเดอร์มา และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณคลอโรฟิลล์เฉลี่ย
                   มากที่สุดเท่ากับ 58.7 SPAD unit ขณะที่แปลงควบคุมมีปริมาณคลอโรฟิลล์เฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 50.4
                   SPAD unit (ตารางที่ 2.2)
                          ครั้งที่ 3 พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันระหว่าง 50.1-57.2 SPAD unit โดยการ

                   ใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณคลอโรฟิลล์เฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ
                   57.2 SPAD unit ขณะที่แปลงควบคุมมีปริมาณคลอโรฟิลล์เฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 50.1 SPAD unit
                   (ตารางที่ 2.2)

                          ครั้งที่ 4 พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันระหว่าง 47.8-52.4 SPAD unit  โดย
                   การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ร่วมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณ
                   คลอโรฟิลล์เฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 52.4 SPAD unit ขณะที่แปลงควบคุมมีปริมาณคลอโรฟิลล์เฉลี่ยน้อยที่สุด
                   เท่ากับ 47.8 SPAD unit (ตารางที่ 2.2)
                          ครั้งที่ 5 พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันระหว่าง 46.9-55.7 SPAD unit โดยการ

                   ใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณคลอโรฟิลล์เฉลี่ยมากที่สุด คือ 55.7 SPAD unit ขณะที่แปลงควบคุม
                   มีปริมาณคลอโรฟิลล์เฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 46.9 SPAD unit (ตารางที่ 2.2)
                          ครั้งที่ 6 พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันระหว่าง 45.4-51.9 SPAD unit โดยการ

                   ใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณคลอโรฟิลล์เฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ
                   51.9 SPAD unit ขณะที่แปลงควบคุมมีปริมาณคลอโรฟิลล์เฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 45.4 SPAD unit (ตาราง
                   ที่ 2.2)
                          ครั้งที่ 7 พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันระหว่าง 45.5-53.8 SPAD unit โดยการ

                   ใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ร่วมกับไตรโคเดอร์มา และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณคลอโรฟิลล์เฉลี่ย
                   มากที่สุดเท่ากับ 53.8 SPAD unit ขณะที่แปลงควบคุมมีปริมาณคลอโรฟิลล์เฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 45.5
                   SPAD unit (ตารางที่ 2.2)
                          ครั้งที่ 8 พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันระหว่าง 40.1-49.2 SPAD unit โดยการ

                   ใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ร่วมกับไตรโคเดอร์มา และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณคลอโรฟิลล์เฉลี่ย
                   มากที่สุดเท่ากับ 49.2 SPAD unit ขณะที่แปลงควบคุมมีปริมาณคลอโรฟิลล์เฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 40.1
                   SPAD unit (ตารางที่ 2.2)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19