Page 17 - ผลของโดโลไมท์ ปุ๋ยอินทรีย์ และไตรโคเดอร์มาต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตของพริกไทย Effects of dolomite, organic fertilizers and Trichaderma spp. On soil fertility and pepper yield were investigated
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                       17


                   ตารางที่ 2.3  ผลผลิตพริกไทย

                                          วิธีการ                          ผลผลิตพริกไทย (กิโลกรัมต่อไร่)
                    แปลงควบคุม                                                      2,713.3

                    ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน                                      2,973.3
                    ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ + ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน          3,013.3
                    ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ + ไตรโคเดอร์มา + ปุ๋ยเคมีตาม          3,786.7

                    ค่าวิเคราะห์ดิน
                    ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ + สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 + ปุ๋ยเคมี     3,246.7
                    ตามค่าวิเคราะห์ดิน
                    ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ + ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน          3,100.0
                    ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ + ไตรโคเดอร์มา + ปุ๋ยเคมีตาม          3,226.7

                    ค่าวิเคราะห์ดิน
                    ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ + สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 + ปุ๋ยเคมี     2,986.7
                    ตามค่าวิเคราะห์ดิน

                    F-test                                                            ns
                    C.V (เปอร์เซ็นต์)                                                15.2


                   3. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเหนือต้นทุนผันแปร

                          จากการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเหนือต้นทุนผันแปร พบว่า การปลูกพริกไทยจะเริ่มให้
                   ผลผลิตในปีที่ 2 และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในปีที่ 3 ซึ่งในปีที่ 1 นั้น ตั้งแต่เริ่มต้น การปลูกพริกไทยจะ
                   มีต้นทุนการผลิตที่สูง แต่ไม่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ โดยแบ่งค่าใช้จ่าย ดังนี้

                          - ค่าแรงงาน ได้แก่ ค่าไถเตรียมพื้นที่ ยกร่อง ขุดหลุม ตั้งเสาปูนเพื่อทำเป็นค้าง ติดตั้งระบบการให้น้ำ
                   แบบมินิสปริงเกอร์ ปลูกพริกไทยหลุมละ 2 ต้น สร้างโรงเรือนพรางแสง มัดยอดพริกไทยกับค้าง ให้ปุ๋ยเคมีและ
                   ปุ๋ยอินทรีย์ ใส่เชื้อไตโคเดอร์มา กำจัดวัชพืช โรคและแมลง และค่าเก็บเกี่ยวผลผลิตพริกไทยปีที่ 3 เป็นต้น
                          - ค่าวัสดุ ได้แก่ ค่าปูนโดโลไมท์ เสาปูนขนาด 4x4x4 สูง 3 เมตร สำหรับทำค้าง กิ่งพันธุ์พริกไทย

                   พันธุ์ซาราวัค อุปกรณ์สำหรับติดตั้งระบบน้ำแบบ mini sprinkler ตาข่ายพรางแสงที่ความเข้ม 50%
                   กระสอบป่านสำหรับพันค้าง ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 18-36-0 หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา รำข้าว
                   ข้าวสาร และถุงพลาสติกสำหรับเก็บตัวอย่างดิน เป็นต้น
                          ในการวิจัยครั้งนี้ มีระยะเวลา 3 ปี จึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตพริกไทยได้เพียง 1 ครั้ง และพบว่า

                   ผลผลิตพริกไทยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ เนื่องจากต้นพริกไทยพึ่งเริ่มให้ผลผลิตในปีแรก และให้
                   ผลผลิตในปริมาณที่ไม่มากและค่อนข้างใกล้เคียงกัน เมื่อนำมาวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจึงทำให้
                   ได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ต่ำและไม่แตกต่างกัน เนื่องจากต้นพริกไทยเป็นพืชอายุหลายปี ในระยะ
                   ยาวต้นพริกไทยจะให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนปี และจะสามารถทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่

                   คุ้มค่าต่อการลงทุนปลูกพริกไทย
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22