Page 21 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 21
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
บทที่ 3
การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสําหรับพืชสมุนไพร
(Qualitative Land Evaluation)
การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสําหรับพืชสมุนไพร เป็นการประเมินด้านกายภาพ เพื่อ
พิจารณาว่าทรัพยากรที่ดินนั้นๆ เหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใดต่อการนําไปใช้ปลูกพืชสมุนไพรชนิด
ต่างๆ
3.1 คุณภาพที่ดิน (Land Quality)
คุณภาพที่ดิน คือ คุณสมบัติของที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช
คุณภาพที่ดินอาจประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดิน (Land characteristic) ตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้
เช่น ความเป็นประโยชน์ของออกชิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability to roots) เป็นคุณภาพที่ดินซึ่ง
มีผลมาจากคุณลักษณะของที่ดินหลายตัว เช่นชั้นการระบายนํ้าของดิน (Soil drainage class)
ความลึกของระดับนํ้าใต้ดิน (Depth of water table) และระยะเวลาของนํ้าท่วมขัง (Period of
waterlogging) เป็นต้น จะเห็นว่าคุณภาพที่ดินนั้นในแต่ละสิ่งแวดล้อมนั้น มีคุณลักษณะที่ดินที่มี
อิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชและความรุนแรงอาจไม่เท่ากันหรือคนละตัว การประเมินคุณภาพ
ที่ดินจึงจําเป็นต้อง “ชั่งนํ้าหนัก” ว่าสถานการณ์ใดควรจะใช้คุณลักษณะที่ดินใดเป็นตัวนํา โดยคุณภาพ
ที่ดินที่นํามาประเมินสําหรับการปลูกพืชในระบบของ FAO Framework ได้กําหนดไว้ทั้งหมด 25
ชนิด ดังนี้
1) ความเข้มของแสงอาทิตย์ (Radiation regime) : u
2) อุณหภูมิ (Temperature regime) : t
3) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture availability) : m
4) ความเป็นประโยชน์ของออกชิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability to root) : o
5) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability) : s
6) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention capacity) : n
7) สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting conditions) : r
8) สภาวะที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพืช (Conditions as affecting germination) : g
9) ความชื้นในอากาศที่มีผลต่อการเจริญเติบโต (Air humidity as affecting growth) : h
10) สภาวะการสุกแก่ (conditions for ripening) : i
11) ความเสียหายจากนํ้าท่วม (Flood hazard) : f