Page 38 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยยาง อำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 38
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
20
คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ระยะเวลาการท่วมขังของน้ าในฤดูฝน ปริมาณน้ าฝน
เฉลี่ยในรอบปีหรือความต้องการน้ าในช่วงการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ได้พิจารณาถึงลักษณะของ
เนื้อดิน ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการอุ้มน้ า ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
3) ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability: O)
คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ สภาพการระบายน้ าของดิน ทั้งนี้เพราะพืชโดยทั่วไป
รากพืชต้องการออกซิเจนในกระบวนการหายใจ
4) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability: S)
คุณลักษณะที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน
5) ความเสียหายจากน้ าท่วม (Flood hazard: F)
คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ จ านวนครั้งที่น้ าท่วมในช่วงรอบปีที่ก าหนดไว้
หมายถึง พืชได้รับความเสียหายจากการที่น้ าท่วมบนผิวดินชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือเป็นน้ าที่มีการไหลบ่า การ
ที่น้ าท่วมขังจะท าให้ดินขาดออกซิเจน ส่วนน้ าไหลบ่าจะท าให้รากพืชได้รับความกระทบกระเทือนหรือราก
อาจหลุดพ้นผิวดินขึ้นมาได้ ความเสียหายจากน้ าท่วมไม่ใช่จะเกิดกับพืชเท่านั้น แต่ยังท าความเสียหาย
ให้กับดินและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดิน
6) สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting conditions: R)
คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลึกของดิน ความลึกของระดับน้ าใต้ดิน และชั้นการ
หยั่งลึกของราก โดยความยากง่ายของการหยั่งลึกของรากในดินมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ลักษณะเนื้อดิน
โครงสร้างของดิน การเกาะตัวของเม็ดดิน และปริมาณกรวดหรือเศษหินที่พบบนหน้าตัดดิน
7) ศักยภาพในการใช้เครื่องจักร (Potential for mechanization: W)
คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณหินโผล่ ปริมาณก้อน
หิน และการมีเนื้อดินเหนียวจัด ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 นี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวนโดยเครื่องจักร
8) ความเสียหายจากการกัดกร่อน (Erosion hazard: E)
คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่
การจ าแนกความเหมาะสมของที่ดินตามหลักเกณฑ์ของ FAO Framework เป็นการประเมิน
ศักยภาพของที่ดินส าหรับการปลูกพืชหรือประเภทการใช้ที่ดิน โดยการพิจารณาเปรียบเทียบความสัมพันธ์
ระหว่างคุณภาพที่ดินกับความต้องการปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเจริญ เติบโตของพืชหรือประเภทการใช้
ที่ดินว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับใด และมีข้อจ ากัดใดบ้าง โดยได้จ าแนกความเหมาะสมออกเป็น 4 ชั้น คือ
S1 : ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง
S2 : ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง
S3 : ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย
N : ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม