Page 33 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยยาง อำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
15
4) การสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS database) เป็นการจัดท าทั้งฐานข้อมูลเชิง
พื้นที่ (spatial data) และฐานข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (attribute data) ของข้อมูลจากภาคสนามและ
ข้อมูลแผนที่จากส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยน าเข้าและประมวลผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ดังนี้
(1) การสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เป็นการน าเข้าข้อมูลในรูปแผนที่เชิงเลข เพื่อใช้วิเคราะห์
และประมวลผลเชิงพื้นที่
(2) การสร้างฐานข้อมูลเชิงคุณลักษณะ เป็นการน าเข้าข้อมูลด้านคุณลักษณะของแผนที่
และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อท าให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั้ง 2 ประเภท
ส าหรับใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
5) การจัดท าแผนที่และฐานข้อมูล สภาพการใช้ที่ดินของพื้นที่ลุ่มน้ าห้วยยาง อ าเภอศรีเทพ
และอ าเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2562
การส ารวจเก็บรวบรวบข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อประกอบการจัดท าแผนการใช้ที่ดิน
และแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและความเสื่อมโทรมของดิน ด้วยระบบอนุรักษ์
ดินและน้ า โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจส าคัญของพื้นที่ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์ มันส าปะหลัง อ้อย เกษตรผสมผสาน และยูคาลิปตัส มีขั้นตอนการด าเนินงาน ดังนี้
1) การเก็บรวบรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ส าคัญ ได้แก่ เกษตรกรผู้ให้สัมภาษณ์ ข้อมูลสถิติจาก
หน่วยงานต่าง ๆ โดยสามารถจัดข้อมูลได้ 2 ประเภท คือ
(1) ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากการส ารวจในภาคสนามด้วยวิธี การ
สัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย โดยการก าหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางส าเร็จรูปของ Taro
Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% ได้ขนาดจ านวนตัวอย่างทั้งสิ้น 100 ตัวอย่าง แล้วท าการสุ่มตัวอย่าง
ในการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีแบบเจาะจง (purposive sampling) คือ เลือกเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกพืช (ข้าว
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันส าปะหลัง อ้อย เกษตรผสมผสาน และยูคาลิปตัส) ในพื้นที่เป้าหมาย และใช้
แบบสอบถามในการสัมภาษณ์เกษตรกร
(2) ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมจากเอกสารวิชาการ ผลงานวิจัย รายงาน
บทความ และระบบสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการปลูก การดูแลรักษา และการเก็บ
เกี่ยว เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลส าหรับอ้างอิงและประกอบการศึกษาต่อไป
2) การวิเคราะห์ข้อมูล
การน าข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ แล้วท าการตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูล และ
ประมวลผล จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (descriptive analysis) แสดงผล
เป็นค่าร้อยละ และ/หรือค่าเฉลี่ย แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้