Page 15 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                         5


                   ธาตุอาหารในดิน โดยผ่าน 3 ตัวเร่งหลัก คือ น้ า  ลม และการไถ” ท าให้โครงสร้างดินถูกท าลาย  หน้าดินถูกชะล้าง
                   หลงเหลือเพียงชั้นดินถัดไปที่มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ า  ธาตุอาหารพืชสูญหาย  กิจกรรมจุลินทรีย์เกิดได้ต่ า
                   เกิดสภาวะความเค็มในบางพื้นที่  ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินและคุณภาพดินลดลง เกิดความเสื่อมโทรม
                   ของดินและที่ดิน  น าไปสู่ภาวะปัญหาภัยคุกคามหรืออุปสรรคต่อความปลอดภัยด้านอาหารในระดับโลก และ

                   การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน




















                   ภาพที่ 1.2 การประชุมวิชาการระดับโลกทางด้านการชะล้างพังทลายของดิน กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี

                            การประชุมวิชาการ GSER19 จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน าเสนอและอภิปรายเกี่ยวกับสถานภาพ
                   ของข้อมูลด้านการชะล้างพังทลายของดินในปัจจุบันโดยเฉพาะนวัตกรรมการจัดการที่ดิน  มีเป้าหมายเพื่อสื่อสาร

                   ถึงความชัดเจนทั้งเชิงวิทยาศาสตร์และเชิงนโยบาย เพื่อช่วยในการตัดสินใจและการปฏิบัติงานเพื่อลดการ
                   ชะล้างพังทลายของดินที่ส่งผลต่ออาหารปลอดภัย  นิเวศบริการ และการฟื้นฟูพื้นที่ถูกชะล้างพังทลาย โดยให้
                   ความส าคัญมุ่งเป้า 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การใช้ข้อมูลและเครื่องมือในการประเมินการควบคุมการชะล้าง
                   พังทลายของดิน  2) การผลักดันนโยบายทั้งนโยบายระดับชาติ และระดับนานาชาติด้านการชะล้างพังทลายของ
                   ดินสู่การปฏิบัติจริงในเชิงพื้นที่  ข้อตกลงและกรอบงานด้านการต่อต้านการชะล้างพังทลายของดิน  การจัดการ
                   และฟื้นฟูพื้นที่มีการชะล้างพังทลายดินอย่างมีประสิทธิภาพ และ3) ผลกระทบของการชะล้างพังทลายของดิน
                   ในเชิงเศรษฐศาสตร์น าไปสู่การติดตาม ป้องกัน บรรเทา และควบคุมการจัดการที่มีความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และ

                   ยั่งยืน ซึ่งสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดินไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแหล่งชุมชุมตามพื้นที่ชนบท แต่ยังส่งผล
                   กระทบต่อชุมชุนเมืองด้วย  ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากนักวิทยาศาสตร์ด้านดินและชุมชนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
                   ในการขับเคลื่อนงานเพื่อหยุดการชะล้างพังทลายของดินต่อไป และจากการประชุม GSER 19 นี้ มีแผนการ
                   ด าเนินงานเร่งด่วน คือ การจัดท าแผนที่การชะล้างพังทลายของดินระดับโลก (Global Soil Erosion Map) และ
                   การศึกษาในเชิงเศรษฐศาสตร์ทั้งในส่วนของความเสียหาย ราคา ค่าใช้จ่าย และผลกระทบที่เกิดขึ้น พร้อมทั้ง
                   มาตรการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน น าไปสู่การจัดการควบคุมที่มีความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน
                            นอกจากนี้  ยังมีการประชุมหารือและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับ 3 ประเด็นหลัก ดังนี้
                            1. การประเมินการชะล้างพังทลายของดินด้วยเทคนิคไอโซโทป  (soil erosion assessment :
                   making a difference with isotopic technique)
                            2. การประเมินการชะล้างพังทลายของดินเพื่อสนับสนุนการวางแผนการใช้ที่ดินและการพัฒนาอย่าง

                   ยั่งยืน เป้าหมายข้อที่ 15.3 ความสมดุลของพื้นที่ (assessing soil erosion to support land use planning
                   and the achievement of SDG Target 15.3 on land degradation neutrality)
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20