Page 12 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                     2





                                  บทน ำ





                        สถานการณ์การชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความส าคัญทั้งในด้านของความรุนแรง
               และผลกระทบที่เกิดขึ้นในวงกว้าง (FAO and ITPS, 2015)  การชะล้างพังทลายเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตาม
               ธรรมชาติซึ่งมีกิจกรรมของมนุษย์เสมือนเป็นตัวเร่งการเกิด อาทิ การไม่มีสิ่งปกคลุมดิน การไถพรวนในพื้นที่ลาดเท
               นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  การปรับเปลี่ยนพื้นที่ การใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร
               การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การบุกรุกท าลายป่า รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดสถานการณ์การชะล้าง
               พังทลายของดินที่รุนแรงจนกระทั้งเกิดเป็นดินถล่ม  ก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจกเพิ่มขึ้น และปริมาณ

               อินทรีย์คาร์บอนในดินลดลง (Borselli et al., 2006; Lal, 2019)  การชะล้างพังทลายของดินส่งผลท าให้ดินมี
               ความสามารถในการแทรกซึมของน้ าสู่ดินได้ลดลง ความเป็นประโยชน์ของน้ าลดลง การระบายน้ าไม่ดี  ความลึก
               ของชั้นดินบริเวณรากพืชลดลง การสูญเสียธาตุอาหารไปจากดิน  ที่ก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง
               ต่อพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารที่ปลอดภัย คุณภาพน้ า และสิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้
               การพัดพาของอนุภาคดินที่เกิดจากการกัดเซาะเป็นตะกอนไหลสู่พื้นที่อื่นที่ขวางทางไหลของน้ า และไหลลงสู่
               แหล่งน้ าเป็นสาเหตุของการตื้นเขินของแหล่งน้ าและเป็นมลพิษผิวน้ าได้ (Lal, 2017)
                        การสูญเสียดินที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดินพบกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศไทยทั้งใน

               พื้นที่สูงที่เป็นป่าต้นน้ า และพื้นที่เกษตรกรรม ท าให้ชั้นดินบนซึ่งมีธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุในดินอยู่สูญเสีย
               ไปกับน้ าไหลบ่าหน้าดิน โครงสร้างของดินถูกท าลาย ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ความอุดมสมบูรณ์และ
               ความสามารถในการให้ผลผลิตของดินลดลงจนถึงระดับที่ไม่สามารถท าการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งมี
               การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อขยายพื้นที่การเกษตรโดยไม่มีการควบคุม  การจัดการที่ดินที่ไม่เหมาะสมตามสภาพ
               ปัญหาของพื้นที่  การใช้ที่ดินโดยปราศจากการบ ารุงรักษา ขาดการอนุรักษ์ดินและน้ าอย่างถูกหลักวิชาการ
               ยิ่งส่งผลต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินและที่ดินอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ
               ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท าให้ดุลยภาพของบทบาทหน้าที่ดินต่อระบบนิเวศ
               บริการที่เปลี่ยนแปลงไป (Adhikari and Hartemink, 2016) ซึ่งกระทบโดยตรงต่อปริมาณผลผลิตของเกษตรกร
               น าไปสู่ปัญหาทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร  นอกจากนั้น ยังมีการสูญเสียของหน้าดินจาก
               ภัยธรรมชาติดินถล่มหรือโคลนถล่มที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างชั้นดิน ท าลายระบบนิเวศและชุมชน ท าให้เกิด

               การสูญเสียทรัพย์สินของประชาชน  ซึ่งควรมีการเตรียมการเฝ้าระวังและป้องกันจะช่วยลดความเสี่ยงและ
               ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทั้งพื้นที่ป่าต้นน้ า พื้นที่การเกษตร และพื้นที่ที่อยู่อาศัยของเกษตรกรผู้ประสบภัยได้
                        ดังนั้น การทราบถึงสถานภาพของพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการชะล้างพังทลายของดินในประเทศ
               ไทยเป็นกุญแจส าคัญเพื่อน าไปสู่การควบคุม  การป้องกันและฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดสถานการณ์
               การชะล้างพังทลายของดินและดินถล่มตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ าจนถึงปลายน้ า  เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเกษตรของ
               ประเทศอย่างยั่งยืน มีประสิทธิภาพ สมดุล น าไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต สร้างความมั่นคงทาง
               อาหาร และบรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) โดยลดความอดอยากหิวโหย (SDG2) สุขภาพที่ดี และ

               มีความเป็นอยู่ที่ดี (SDG3) และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม (SDG15) ของมวลมนุษยชาติ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17