Page 14 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                     4






                        จากรายงานสถานภาพของดินโลก ปี 2558 ของ FAO และ ITPS (2015) ชี้ว่า การชะล้างพังทลายของ
               ดินเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทั่วโลกให้ความส าคัญ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน โดยส่งผลกระทบ
               โดยตรงต่อบทบาทหน้าที่ของดินที่มีความจ าเป็นต่อการผลิตพืช เช่น การเปลี่ยนแปลงอินทรียวัตถุในดิน
               การหมุนเวียนธาตุอาหารในดิน การดูดซับธาตุอาหารในดิน การงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของพืช

               การแทรกซึมของน้ าในดิน และสถานภาพของน้ าในดิน  การชะล้างพังทลายของดินท าให้ผลผลิตของพืชลดลงอยู่
               ในช่วง 0.1-0.4 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของอาหาร  อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาผลกระทบของ
               การชะล้างพังทลายของดินต่อปริมาณผลผลิตพืชที่ลดลง  ซึ่งยังอยู่ในสถานะวิกฤติที่น้อยกว่าผลกระทบที่อาจเกิด
               ขึ้นกับพื้นที่อื่นๆ (off-site) โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เช่น ธาตุไนโตรเจนและ
               ฟอสฟอรัสไหลไปกับทางน้ าลงสู่แหล่งน้ า และพื้นที่อื่นๆ

















               ภาพที่ 1.1 ผลกระทบโดยตรงจากสภาพข้อจ ากัดของดินต่อบทบาทหน้าที่ของดินในการผลิตพืช
               ที่มา : แปลงและดัดแปลงจาก FAO and ITPS (2015)

                       จากข้อพิจารณาการป้องกันและการควบคุมการชะล้างพังทลายของดินมีความส าคัญเชื่อมโยงต่อ
               การบรรลุเป้าหมาย SDG13 และการเชื่อมโยงขยายผลไปสู่ SDG ข้อที่ 2, 3, 6 และ15 ด้านความปลอดภัยของ
               อาหาร  การหาน้ าที่สะอาด  การต่อต้านการเป็นทะเลทราย และการหยุดการสูญเสียความหลากหลายทาง
               ชีวภาพ ตามล าดับ   จึงท าให้มีการประชุมวิชาการระดับโลกทางด้านการชะล้างพังทลายของดิน (Global
               Symposium on Soil Erosion - GSER19) ภายใต้หัวข้อ “หยุดการชะล้างพังทลายของดิน เพื่ออนาคตของ
               มนุษย์ (Stop Soil Erosion, Save Our Future)” ณ ส านักงานใหญ่องค์การอาหารและการเกษตรแห่ง
               สหประชาชาติ หรือ UN Food and Agriculture Organization (FAO) ที่กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี ระหว่าง

               วันที่ 17 - 19 พฤษภาคม 2562  จัดโดยความร่วมมือของ UN-FAO  สมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินของโลก
               (Global Soil Partnership - GSP) Intergovernmental Technical Panel on Soils (ITPS)  UNCCD และ
               ความร่วมมือของ FAO และทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) กลุ่มโปรแกรมเทคนิคนิวเคลียร์ด้าน
               อาหารและการเกษตร (Nuclear Techniques in Food and Agriculture)  มีผู้เข้าร่วมการประชุมจ านวน
               500 คน จาก 100 ประเทศ  โดยสร้างความตระหนักถึง “การชะล้างพังทลายของดิน” ซึ่งนับเป็นปัญหา 1 ใน 10
               ของประเด็นปัญหาภัยคุกคาม “กระบวนการที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายอนุภาคดิน เม็ดดิน อินทรียวัตถุ และ
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19