Page 104 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 104

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                     94




               ตารางที่ 3.19 เปรียบเทียบเนื้อที่ของการสูญเสียดินของภาคตะวันตกระหว่างปี พ.ศ. 2545 และปี พ.ศ. 2563


                ชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดิน                              เนื้อที่ (ไร่)
                                                            ปี พ.ศ. 2545   ปี พ.ศ. 2563     ผลต่าง
                พื้นที่ราบ (ที่ราบล าน้ า ที่ราบเชิงเขา และเนินเขาความลาดชันน้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์)
                ชั้นที่ 1    การสูญเสียดินน้อย                10,830,772     13,269,933    +2,439,161
                ชั้นที่ 2   การสูญเสียดินปานกลาง               4,730,385      2,174,651     -2,555,734
                ชั้นที่ 3   การสูญเสียดินรุนแรง                 914,606       1,000,229       +85,623
                ชั้นที่ 4   การสูญเสียดินรุนแรงมาก                34,499         52,844       +18,345
                ชั้นที่ 5   การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด        129,941         142,546       +12,605
                                   รวม                        16,640,203     16,640,203       -
                พื้นที่สูง  (ภูเขา และที่ราบหุบเขา ลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์)
                ชั้นที่ 1H    การสูญเสียดินน้อย                3,073,340      9,509,039    +6,435,699
                ชั้นที่ 2H   การสูญเสียดินปานกลาง              5,943,830      2,080,646     -3,863,184
                ชั้นที่ 3H   การสูญเสียดินรุนแรง               2,967,013        277,081     -2,689,932
                ชั้นที่ 4H   การสูญเสียดินรุนแรงมาก               27,276         86,290       +59,014
                ชั้นที่ 5H   การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด       153,193         211,596       +58,403
                                   รวม                        12,164,652     12,164,652       -
                                 รวมทั้งภาค                   28,804,855     28,804,855       -
               เนื้อที่ได้จากการค านวณด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์



                                จากการเปรียบเทียบผลระหว่างปี พ.ศ. 2545 และพ.ศ. 2563 (ตารางที่ 3.20) พบว่า ในพื้นที่
               ราบมีแนวโน้มของเนื้อที่ที่มีระดับการสูญเสียดินน้อย (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) และรุนแรงมาก (15-20 ตันต่อไร่ต่อปี)
               เพิ่มมากขึ้นจากปี 2545 ประมาณ 3.30 และ 0.05 ล้านไร่  ส่วนเนื้อที่ในพื้นที่ที่มีระดับการสูญเสียดินอื่นมี
               แนวโน้มลดลง  ส าหรับในพื้นที่สูง พบว่า พื้นที่ที่มีระดับการสูญเสียดินน้อย (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) ปานกลาง (5-15
               ตันต่อไร่ต่อปี) และรุนแรงมาก (15-20 ตันต่อไร่ต่อปี)  ในปี พ.ศ. 2563 มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 0.11 0.08 และ 0.24

               ล้านไร่ ตามล าดับ ในขณะที่พื้นที่ที่มีการสูญเสียดินรุนแรง (5-15 ตันต่อไร่ต่อปี) และรุนแรงมากที่สุด (>20 ตันต่อ
               ไร่ต่อปี)  มีเนื้อที่ลดลง 0.10 และ0.12 ล้านไร่ ตามล าดับ  จะเห็นว่า เนื้อที่ตามระดับการสูญเสียดินของภาค
               ตะวันออกมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีระดับการสูญเสียดินรุนแรงมาก (15-20 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่
               ลดลงในทุกจังหวัด ยกเว้น จังหวัดตราด และจันทบุรี ซึ่งมีเนื้อที่ในพื้นที่ที่มีระดับการสูญเสียดินระดับรุนแรงมาก
               (15-20 ตันต่อไร่ต่อปี) เพิ่มขึ้น


                                จากการเปรียบเทียบผลระหว่างปี พ.ศ. 2545 และพ.ศ. 2563 (ตารางที่ 3.21) พบว่า ในพื้นที่

               ราบและพื้นที่สูงที่มีระดับการสูญเสียดินน้อย (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี)  มีแนวโน้มของเนื้อที่ลดลงจากปี พ.ศ. 2545
               ประมาณ 4.67 และ2.27 ล้านไร่ โดยเฉพาะพื้นที่ราบที่มีการลดลงมากกว่า  ในขณะที่พื้นที่ที่มีระดับการสูญเสีย
               ดินอื่นทั้งในพื้นที่ราบและพื้นที่สูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  แสดงให้เห็นว่า ระดับการสูญเสียดินของภาคใต้มีแนวโน้ม
               เพิ่มขึ้นทั้งในพื้นที่ราบและพื้นที่สูง โดยจังหวัดที่มีระดับการสูญเสียดินเพิ่มขึ้น ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี
               พังงา และระนอง
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109