Page 100 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 100

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                     90















                                  จากการค านวณเนื้อที่ทั้งในพื้นที่ราบและพื้นที่สูง โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
               ระหว่างข้อมูลแผนที่การชะล้างพังทลายของดิน กรมพัฒนาที่ดิน ปี พ.ศ. 2545 เปรียบเทียบกับแผนที่การชะล้าง
               พังทลายของดิน ปี พ.ศ. 2563  (ตารางที่ 3.15) ผลที่ได้ ดังนี้
                               1) พื้นที่ราบ (ความลาดชัน < 35 เปอร์เซ็นต์) มีเนื้อที่จากการประเมินตามระดับความรุนแรง
               ของการสูญเสียดินมีแนวโน้มทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง  โดยที่ระดับความรุนแรงของการสูญเสียดินปานกลาง (2-5
                ตันต่อไร่ต่อปี) และรุนแรงมากที่สุด (>20 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ลดลงจากปี พ.ศ. 2545 ประมาณ 10 และ 0.58
               ล้านไร่ ตามล าดับ ในขณะที่ระดับความรุนแรงของการสูญเสียดินน้อย (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) รุนแรง (5-15 ตันต่อไร่
               ต่อปี) และรุนแรงมาก (10-20 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นประมาณ 6.99 3.48 และ 0.18 ล้านไร่ ตามล าดับ

                              2) พื้นที่สูง (ความลาดชัน > 35 เปอร์เซ็นต์) มีเนื้อที่จากการประเมินตามระดับความรุนแรง
               ของการสูญเสียดินมีแนวโน้มทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงคล้ายกับพื้นที่ราบ โดยที่ระดับความรุนแรงของการสูญเสียดิน
               ปานกลาง (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) รุนแรง (5-15 ตันต่อไร่ต่อปี) และรุนแรงมากที่สุด (>20 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่
               ลดลงจากปี พ.ศ. 2545 ประมาณ 11.91 9.17 และ 2.01 ล้านไร่ ตามล าดับ  ในขณะที่ระดับความรุนแรงของ
               การสูญเสียดินน้อย (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) และรุนแรงมาก (10-20 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 22.45 และ 0.64
               ล้านไร่ ตามล าดับ


               ตารางที่ 3.15 เปรียบเทียบเนื้อที่ของการสูญเสียดินของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2545 และปี พ.ศ. 2563

                ชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดิน                              เนื้อที่ (ไร่)
                                                            ปี พ.ศ. 2545   ปี พ.ศ. 2563     ผลต่าง
                พื้นที่ราบ (ที่ราบล าน้ า ที่ราบเชิงเขา และเนินเขาความลาดชันน้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์)
                ชั้นที่ 1    การสูญเสียดินน้อย               165,816,561    172,808,023     +6,991,462
                ชั้นที่ 2   การสูญเสียดินปานกลาง              39,152,036     29,087,277    -10,064,759
                ชั้นที่ 3   การสูญเสียดินรุนแรง                9,240,050     12,717,861     +3,477,811
                ชั้นที่ 4   การสูญเสียดินรุนแรงมาก               727,599        905,762      +178,163
                ชั้นที่ 5   การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด       2,946,932      2,364,255       -582,677
                                   รวม                       217,883,178    217,883,178        -
                พื้นที่สูง  (ภูเขา และที่ราบหุบเขา ลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์)
                ชั้นที่ 1H    การสูญเสียดินน้อย               47,269,417     69,714,454    +22,445,037
                ชั้นที่ 2H   การสูญเสียดินปานกลาง             28,869,209     16,960,320    -11,908,889
                ชั้นที่ 3H   การสูญเสียดินรุนแรง              15,142,470      5,971,481     -9,170,989
                ชั้นที่ 4H   การสูญเสียดินรุนแรงมาก            1,635,494      2,277,182      +641,688
                ชั้นที่ 5H   การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด      9,897,125      7,890,278     -2,006,847
                                   รวม                       102,813,715    102,813,715        -
                               รวมทั้งประเทศ                 320,696,893    320,696,893        -
               เนื้อที่ได้จากการค านวณด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105